3 ขั้นตอนการให้และรับ Feedback ที่สร้างสรรค์

แบบสอบถาม Engagement, แบบฟอร์มการให้และรับ Feedback และกล่องรับความคิดเห็น ล้วนเป็นเครื่องมือการให้และรับ Feedback เพื่อรับฟังพนักงาน แต่ปัญหาคือเครื่องมือเหล่านี้มักดึงดูดความคิดเห็นที่เป็นไปในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก
3 ขั้นตอนการให้และรับ Feedback ที่สร้างสรรค์
Photo by Brooke Cagle on Unsplash

แบบสอบถาม Engagement, แบบฟอร์มการให้และรับ Feedback และกล่องรับความคิดเห็น ล้วนเป็นเครื่องมือการให้และรับ Feedback ที่ได้รับความนิยม เพื่อรับฟังและทำความเข้าใจในความต้องการของพนักงาน แต่ปัญหาคือเครื่องมือเหล่านี้มักดึงดูดความคิดเห็นที่เป็นไปในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก

พนักงานส่วนใหญ่มักใช้ช่องทางเหล่านี้เพื่อระบายความในใจ และเครื่องมือเหล่านี้แทบไม่เคยถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับการให้ Feedback เชิงบวกและการสนทนาที่เป็นประโยชน์สักเท่าไรและมากไปกว่านั้น เราไม่ควรจะต้องใช้การไม่เปิดเผยตัวตนในการพูดคุยกันแบบตรงไปตรงมา

เรามีวิธีที่ดีกว่า

เราควรเข้าใจระบบและโครงสร้างของการทำงานและสังเกตรูปแบบพฤติกรรมในการทำงาน หลีกเลี่ยงการตำหนิผู้คนสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Feedback คือวิธีที่เราสามารถปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ ตั้งแต่เรื่องของบุคลากร รวมไปถึงกระบวนการและระบบการทำงานต่าง ๆ และต่อไปนี้คือ 3 ขั้นตอนที่คุณทำได้เพื่อสร้างวงจรของการให้และรับ Feedback ที่เป็นไปในเชิงบวกและมีความสร้างสรรค์

เครื่องมือสำหรับการให้และรับ Feedback เชิงบวก

เพียง 1 นาทีต่อวันเท่านั้น — ช่วยให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น ช่วยพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ และช่วยส่งเสริมค่านิยมองค์กรที่สร้างสถานที่ทำงานที่ทุกคนรัก ❤️

ตรวจสอบได้ที่นี่

1. ทำให้การให้และรับ Feedback เป็นนิสัยในการทำงาน

สร้างวงจรการให้และรับ Feedback ที่รู้ล่วงหน้าและเชื่อถือได้ เช่น แบบฟอร์ม Feedback จำนวน 3 คำถาม ที่ส่งออกทุกวันศุกร์ตอนเที่ยง

Feedback ที่ได้รับอาจรุนแรงเกินไปหากพนักงานไม่ทราบว่าพวกเขาจะมีโอกาสแบ่งปัน Feedback ได้อีกครั้งเมื่อใด คุณสามารถลดแนวโน้มที่พนักงานจะระบายอารมณ์และแบ่งปันความคับข้องใจทั้งหมดของพวกเขาในคราวเดียวโดยการสร้างช่องทางการให้ Feedback ที่รู้ล่วงหน้าและเชื่อถือได้

วงจรการให้และรับ Feedback ที่ทำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถจัดการกับปัญหาที่สำคัญรองลงมาได้ทีละอย่างแทนที่จะจัดการปัญหาที่มีทั้งหมดในเวลาเดียวกัน

This post is for subscribers only

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!