พลิกโฉมที่ทำงานของคุณ ด้วยคู่มือเชิงลึกในการทำ Performance Management

Performance Management สำคัญต่อการสร้างที่ทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง (High-Performing Team) ทำความเข้าใจองค์ประกอบสำคัญ เคล็ดลับในการนำไปใช้ให้เกิดผล และผลของ Performance Management ต่อ Engagement และการรักษาพนักงานในองค์กร
พลิกโฉมที่ทำงานของคุณ ด้วยคู่มือเชิงลึกในการทำ Performance Management
Photo by Mapbox / Unsplash

Performance Management หรือ การบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นส่วนสำคัญขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตั้งเป้าหมายอย่างเป็นระบบ การติดตามความคืบหน้า การให้ Feedback กันในองค์กร และการปรับแต่งกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกระดับ ด้วยการใช้แนวทาง Performance Management ที่มีประสิทธิภาพ องค์กรสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพสูง (High-performance Culture) เพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) และผลักดันความสำเร็จขององค์กร คู่มือนี้จะบอกถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของ Performance Management พร้อมด้วยงานศึกษาที่สนับสนุนและชี้ให้เห็นถึงผลการเปลี่ยนแปลงและประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ

1. ความสำคัญของ Performance Management

1.1 เพิ่มความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานหรือ Employee Engagement

ระบบ Performance Management ที่แข็งแกร่งนั้นเกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรงในกระบวนการกำหนดเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความผูกพันและความมุ่งมั่นของพนักงานต่อองค์กร จากการศึกษาของ Gallup พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรนั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าพนักงานที่ไม่ได้รู้สึกผูกพันกับองค์กรถึง 21% ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรขององค์กรเพิ่มสูงขึ้นและการลาออกของพนักงานลดต่ำลง (Harter, Schmidt, & Hayes, 2002)

1.2 เพิ่มการรักษาพนักงานให้อยู่ต่อกับองค์กรหรือ Employee Retention

Performance Management ช่วยสร้างโอกาสสำหรับการเติบโตและการพัฒนา ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจในงานที่สูงขึ้นและการรักษาพนักงานให้อยู่ต่อกับองค์กร โดยการศึกษาของ Corporate Executive Board พบว่าองค์กรที่มีระบบ Performance Management ที่มีประสิทธิภาพมีอัตราการลาออกโดยสมัครใจของพนักงานลดลงกว่า 40% (CEB, 2014)

1.3 ขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร

Performance Management ที่มีประสิทธิภาพจะปรับเป้าหมายส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกคนกำลังทำงานเพื่อจุดประสงค์เดียวกันหรือมีเป้าหมายอันเดียวกัน จากการศึกษาของ Hackett Group เปิดเผยว่า บริษัทที่มีกระบวนการ Performance Management ที่สมบูรณ์จะมีประสิทธิภาพดีกว่าบริษัทอื่นในแง่ของการเติบโตของรายได้ อัตรากำไรจากการดำเนินงาน และผลตอบแทนรวมของผู้ถือหุ้น (Hackett Group, 2007)

2. องค์ประกอบหลักของ Performance Management

2.1 การตั้งเป้าหมาย

การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน วัดผลได้ และบรรลุผลได้ เป็นรากฐานของระบบ Performance Management ที่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยพบว่าการกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและท้าทายจะนำไปสู่ระดับประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเป้าหมายที่คลุมเครือหรือง่ายเกินไป (Locke & Latham, 2002) กรอบแนวคิด SMART (Specific - เฉพาะเจาะจง, Measurable -  วัดผลได้, Achievable - บรรลุผลได้,  Relevant - สัมพันธ์กัน และ Time-bound - จำกัดเวลา) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีประโยชน์สำหรับการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ

2.2 การให้และรับ Feedback อย่างต่อเนื่อง

การให้และรับ Feedback กันอย่างสม่ำเสมอสำคัญต่อการพัฒนาพนักงานและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน การศึกษาโดย NeuroLeadership Institute พบว่าพนักงานที่ได้รับ Feedback อย่างต่อเนื่องนี้ทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นถึง 12% เมื่อเทียบกับพนักงานที่ได้รับ Feedback แค่เฉพาะในช่วงการ Review ประจำปีเท่านั้น (Rock, Jones, & Watters, 2015)

2.3 การประเมิน Performance การทำงาน

การประเมิน Performance ในการทำงานประจำปีเปิดโอกาสให้มีการทบทวนและประเมินผลการทำงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ จากงานวิจัยของ Dr. John Sullivan ชี้ให้เห็นว่าองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงมีการประเมินผลการทำงานของพนักงานบ่อยขึ้น ส่งผลให้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับจุดแข็งและสิ่งที่ต้องปรับปรุงของพนักงาน (Sullivan, 2012)

📝
การประเมินผลงานแบบ 360 องศา (360 Performance Review) เป็นรูปแบบการประเมินที่ทำให้องค์กรเห็นภาพผลและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้อย่างชัดเจน นำตัวอย่างที่เราออกแบบไปใช้งานเพื่อทำให้การประเมิน Performance ทำได้ครบถ้วน รอบด้านและใช้ได้จริง ดาวน์โหลด Template ของเรา ที่นี่

2.4 การพัฒนาพนักงาน

Performance Management ไม่ใช่แค่การประเมินประสิทธิภาพการทำงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการให้โอกาสในการเติบโตและการพัฒนาของพนักงานอีกด้วย การศึกษาจาก Association for Talent Development พบว่าองค์กรที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่แข็งแกร่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งในด้านนวัตกรรม การมีส่วนร่วมของพนักงาน และประสิทธิภาพทางการเงิน (ATD, 2016)

3. การนำระบบ Performance Management มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.1 ความมุ่งมั่นของผู้นำ

เพื่อให้ Performance Management ประสบความสำเร็จ ผู้นำองค์กรต้องมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการสื่อสารที่เปิดกว้าง ซึ่งรวมไปถึงการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นและการฝึกอบรมพนักงานเพื่อสนับสนุนความคิดริเริ่มในดำเนินการ Performance Management

3.2การสื่อสารที่ชัดเจน

การสื่อสารที่ชัดเจนและโปร่งใสจำเป็นต่อการตั้งความคาดหวัง การให้ Feedback และการบอกถึงปัญหาประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการพูดคุย Check-in อย่างสม่ำเสมอ, การอัพเดทความก้าวหน้าของงาน, และการให้ Feedback ที่สร้างสรรค์และนำไปปรับใช้ได้จริง

3.3 การให้พนักงานมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมของพนักงานในขั้นตอนการตั้งเป้าหมายและการขอให้พวกเขามีส่วนร่วมในกลยุทธ์การทำ Performance Management สามารถช่วยสร้างความไว้วางใจและกระตุ้นให้เกิดการยอมรับจากพนักงานทุกระดับในองค์กร

3.4 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Performance Management เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ต้องมีการประเมินและพัฒนาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ องค์กรสามารถคงความคล่องตัวไว้และสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการทบทวนและอัปเดตกลยุทธ์ของ Performance Management อย่างต่อเนื่อง

บทสรุป

Performance Management จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความสำเร็จขององค์กร เพราะช่วยส่งเสริมสถานที่ทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วยการผสมผสานการตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์, การให้และรับ Feedback อย่างต่อเนื่อง, การประเมินผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ, และการพัฒนาพนักงาน ทำให้องค์กรสามารถพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน การรักษาลูกค้า และประสิทธิภาพการทำงานได้ จากข้อมูลงานวิจัยที่ได้กล่าวไว้ในเนื้อหาแสดงให้เห็นว่า Performance Management ที่มีประสิทธิภาพมีส่วนช่วยในการเติบโตและความสำเร็จโดยรวมขององค์กร ในฐานะผู้นำ คุณควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการสื่อสารอย่างเปิดเผย ความไว้วางใจ และการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และใช้ Performance Management เพื่อเปลี่ยนสถานที่ทำงานของคุณให้เป็นองค์กรที่ไม่หยุดนิ่ง มีนวัตกรรม และขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่ม Productivity เพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน และการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!