ความสุขกับ Productivity: เมื่อพนักงานมีความสุข บริษัทก็เติบโต

งานวิจัยล่าสุดพบว่า Well-being และความสุขมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คนที่มีความสุขที่สุดจะทำงานได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุขถึง 4 เท่า
ความสุขกับ Productivity: เมื่อพนักงานมีความสุข บริษัทก็เติบโต
Photo by Clay Banks / Unsplash
“ความสุขทำให้เกิด Productivity”
- ชอว์น เอคอร์

งานวิจัยล่าสุดพบว่า Well-being และความสุขมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน คนที่มีความสุขที่สุดจะทำงานได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุขถึง 4 เท่า ผลการศึกษาชี้ให้เห็นอีกว่า ประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มที่มี Well-being ระดับปานกลางเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มี Well-being ระดับต่ำ นอกจากนี้ประสิทธิภาพการทำงานยังมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) อีกด้วย ดังนั้นองค์กรจะได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อ Well-being ของพนักงานและความผูกพันต่อองค์กรเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำเป็นปานกลาง

ความสุขและ Well-being ของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งพนักงานมีความสุขในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขาก็ยิ่งดีขึ้น นั่นคือ พนักงานและองค์กรได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

รายงาน World Happiness Report 2021 บอกว่า ช่วงก่อนเหตุการณ์โรคระบาด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขของพนักงานอย่างมากคือ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร ความยืดหยุ่นในการทำงาน การไม่กีดกันแบ่งแยก และเป้าหมายในการทำงาน แต่เพราะโควิด-19 สภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้หัวหน้างานที่สนับสนุนและเอาใจใส่พนักงาน (Supportive Manager) กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน

ณ ช่วงเวลานี้ ผู้นำและหัวหน้างานจึงมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อ Well-being และความสุขในที่ทำงานมากกว่าที่เคยเป็นมา

ผู้นำองค์กรสามารถทำอะไรกับความสุขในที่ทำงานได้บ้าง?

ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้ผู้นำสรรหา ส่งเสริม และพัฒนาความสุขของพนักงานในที่ทำงานของคุณ และกระตุ้นให้ผู้นำทำ 3 เรื่องดังต่อไปนี้

1. ประเมินความสุขของพนักงานและผู้สมัครงาน
ควรใช้มาตรวัดความสุขและการมองโลกในแง่ดีเป็นคุณสมบัติ หรือ “จุดชี้ขาด” ในกระบวนการสรรหาพนักงาน เนื่องจากการประเมินความสุขมีความเสี่ยงต่ำ แต่ให้ผลลัพธ์กลับมาอย่างมีนัยสำคัญ

กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบความสุขและ Well-being ของพนักงานคือ แบบสำรวจความสุข (Pulse Surveys) แบบสำรวจความสุขคือแบบสำรวจสั้น ๆ ที่ส่งออกไปเพื่อรวบรวม Feedback จากพนักงานในหัวข้อที่เกี่ยวกับการทำงาน ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ผู้นำและหัวหน้างานสามารถบริหารจัดการบุคลากรเชิงรุก เพื่อพัฒนาความสุขและ Well-being ของพนักงาน

ร่วมตรวจเช็คและรักษาความสุขของพนักงานไปกับ Happily.ai

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

2. พัฒนาความสุขในที่ทำงาน
“การเทรนนิ่งที่โฟกัสเรื่อง Well-being ของพนักงานและไม่จำเป็นต้องลงทุนเวลามากนักนั้น มีความคุ้มค่าและให้ผลตอบแทนสูง” เลสเตอร์ นักวิจัยด้านภาวะผู้นำและสุขภาพจิตกล่าว

เลสเตอร์แนะนำกิจกรรมที่ทำตามได้ง่าย ๆ 3 อย่าง (The Gratitude Visit, Three Good Things และ Using Signature Strengths in a New Way) ที่ช่วยให้พนักงานเรียนรู้การแสดงความขอบคุณและชื่นชมความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน กิจกรรมเหล่านี้ไม่มีต้นทุนอะไร และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกฝ่ายและทุกระดับในองค์กร และไม่ว่าองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ทำได้เช่นกัน

เทรนนิ่งโปรแกรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะและเตรียมความพร้อมพนักงานสำหรับโอกาสการเติบโตในองค์กรก็เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เมื่อพนักงานมองไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพ พวกเขาก็รู้สึกเครียดและท้อแท้ จากสถิติ ชี้ว่า 73% ของพนักงานจะไม่ลาออก หากพวกเขามีโอกาสได้พัฒนาทักษะและความสามารถ การมอบโอกาสพัฒนาทักษะแก่พนักงานช่วยรักษาความสุขและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และยังเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการรักษาพนักงานอีกด้วย

3. รักษาพนักงานที่มีความสุข
“องค์กรควรรักษาพนักงานที่มีความสุขเพราะพวกเขาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และองค์กรต้องการพนักงานที่มีความสุข เพราะความสุขแพร่กระจายและส่งต่อถึงกันได้” เซลิกแมน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาเชิงบวกและผู้เขียนหนังสือ Flourish กล่าว

นอกจากความก้าวหน้าในอาชีพแล้ว การสร้างวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback ก็เป็นกลยุทธ์ในการรักษาพนักงานที่สำคัญ องค์กรที่มีวัฒนธรรมเช่นนี้ช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะแชร์ความคิดเห็นและมุมมองของตนเอง และยังทำให้พวกเขารู้สึกว่า องค์กรให้คุณค่าและเคารพต่อความคิดเห็นของพวกเขา เมื่อไอเดียของพนักงานส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทและเป็นไปในแนวทางเดียวกับองค์กร พวกเขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

สรุป

ท้ายที่สุดแล้ว หากพนักงานทำงานอย่างมีความสุข องค์กรก็จะประสบความสำเร็จ เมื่อพนักงานมีความขวัญกำลังใจที่ดี ความคิดสร้างสรรค์และความร่วมมือก็เกิดขึ้น พวกเขาจะผูกพันกับงานและทำให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและบริการ ยิ่งไปกว่านั้น หากเพิ่มระดับความสุขและ Well-being จากระดับต่ำเป็นปานกลางได้ จะยิ่งส่งผลดีต่อพนักงานและองค์กร องค์กรจึงควรตรวจวัดและพัฒนาความสุขของพนักงาน รวมทั้งรักษาพนักงานที่มีความสุขไว้ในองค์กร ด้วยการทำแบบสำรวจความสุข ส่งเสริมวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback และสร้างโปรแกรมเทรนนิ่งพัฒนาทักษะและความสามารถแก่พนักงาน เมื่อพนักงานมีความสุขกับการทำงาน Productivity ก็จะพุ่งสูงขึ้น


Happily.ai ช่วยคุณพัฒนาความสุขและ Well-being ของพนักงานได้

Happily.ai ช่วยองค์กรเสริมสร้างความสุขและ Well-being ของพนักงานด้วยข้อมูลแบบ Real-time และ Nudge ที่ช่วยกระตุ้นพฤติกรรมอย่างถูกที่ถูกเวลา มีแบบสำรวจความสุขส่งแก่ทีมของคุณทุกวันและช่วยให้คุณมองเห็นพนักงานที่มีความเครียดสูงได้ ไม่มีทางลัดใดในการสร้างที่ทำงานที่มีความสุขและสุขภาพดี แต่เราช่วยคุณประกอบชิ้นส่วนสำคัญเข้าด้วยกัน (ภายในไม่กี่วัน ไม่ใช่หลักเดือน!) เราขอเชิญคุณเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดีในที่ทำงานของคุณ ทำให้ความสุขและ Well-being ที่ดีเป็นเรื่องสำคัญได้ตั้งแต่วันนี้!

ข้อมูลอ้างอิง:
[1] Helliwell, John F., Richard Layard, Jeffrey Sachs, and Jan-Emmanuel De Neve, eds. 2021. World Happiness Report 2021. New York: Sustainable Development Solutions Network.

[2] Lester, P.B., Stewart, E.P., Vie, L.L. et al. Happy Soldiers are Highest Performers. J Happiness Stud 23, 1099–1120 (2022). https://doi.org/10.1007/s10902-021-00441-x

[3] https://sloanreview.mit.edu/article/top-performers-have-a-superpower-happiness/

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!