ค่านิยม ความคาดหวัง ต่อการทำงานและสถานที่ทำงานของคน Gen Z

เข้าใจค่านิยมและความคาดหวังของพนักงานคน Gen Z ผ่านการเรียนรู้แนวคิดของกลุ่มคนทั้ง 4 Gen และผลสํารวจและข้อมูลเชิงลึกความคาดหวังของพนักงานคนรุ่นใหม่ทั้งต่างประเทศและในเมืองไทย พร้อมทั้งรู้ถึงวิธีบริหารจัดการและรักษาพนักงานคนรุ่นใหม่ให้อยู่กับองค์กร (Employee Retention)
ค่านิยม ความคาดหวัง ต่อการทำงานและสถานที่ทำงานของคน Gen Z
Photo by Simon Maage / Unsplash

เราได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของโควิด-19 ทําให้รูปแบบการดําเนินชีวิตและรูปแบบ การทํางานได้ถูกปรับเปลี่ยนไปให้เหมาะกับ สถานการณ์ และหลังจากการระบาดเริ่มดี ขึ้นก็ได้มีเทรนด์การทํางานที่เป็นหัวข้อสําคัญเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย เช่น การลาออกระลอกใหญ่ หรือ Great Resignation, การลาออกอย่างเงียบ ๆ (Quiet Quitting), การไล่ออกแบบเงียบ ๆ (Quiet Firing) , และอื่น ๆ

ซึ่งคําศัพท์เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย ล้วนแต่เป็นเรื่องการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรทั้งสิ้น และอย่างที่ทราบกันดีว่าทรัพยากรที่สําคัญที่สุดขององค์กรก็คือ “บุคคล” ดังนั้นการดูแลคนในองค์กร จึงเป็นหัวใจสําคัญในการเติบโตและเดินหน้าต่อไปของธุรกิจ แล้ววันนี้คุณเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานคนรุ่นใหม่ดีหรือยัง เพื่อรักษาพวกเขาให้เติบโตและอยู่กับองค์กรต่อไป

โดยในบทความนี้เราจะนำเสนอเนื้อหา ดังนี้

  • มุมมองของผู้บริหารและผู้นําองค์กรในการดูแลพนักงาน
  • แนวคิดของกลุ่มคน 4 Gen
  • ค่านิยมและความคาดหวังของพนักงานคนรุ่นใหม่
  • ผลสํารวจและข้อมูลเชิงลึกความคาดหวังของพนักงานคนรุ่นใหม่
  • วิธีบริหารจัดการและรักษาพนักงานคนรุ่นใหม่ให้อยู่กับองค์กร

The Gen Z Workforce: Values and Expectations Towards Work and the Workplace

มุมมองของผู้บริหารและผู้นําองค์กรในการดูแลพนักงาน

ทางทีม People Science ของ Happily.ai ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านจากองค์กรในประเทศไทยที่มีขนาดพนักงานตั้งแต่ 30 - 235 ท่าน เกี่ยวกับเรื่องการดูแลพนักงานในองค์กรและได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านการดูแลพนักงานในองค์กรหรือสไตล์ผู้นํารูปแบบต่าง ๆ , วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร, และความท้าทายที่พบเจอในการบริหารจัดการเรื่องบุคคลในองค์กร

  1. การดูแลพนักงานในองค์กร
    ผู้บริหารมีวิธีดูแลคนในองค์กรที่คล้ายกันในส่วนของการดูแลเรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่เพียงพอและสวัสดิการพิเศษเพื่อดึงดูดและรักษาพนักงานคนเก่งขององค์กร เช่น การทํางานที่ยืดหยุ่น, การทํางานแบบ Hybrid, มีกิจกรรม Outing ทั้งในและต่างประเทศ, และมีการดูแลพนักงานเหมือนเป็นครอบครัว สร้างและส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทํางานที่ดี เอื้ออํานวยต่อการทํางานเพื่อส่งเสริมเรื่องประสิทธิภาพการทํางาน มีการส่งเสริมความสุข Well-being และความสัมพันธ์ในองค์กร ในลักษณะการรับประทานอาหารร่วมกันหรือการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างระดับผู้บริหารและพนักงาน และการประชุม One-on-one ในระดับทีมและระดับบุคคลเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดการกับสมาชิกในทีม
  2. วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร
    บางองค์กร (ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง) ไม่ได้มีวัฒนธรรมหรือค่านิยมที่ชัดเจน ผู้นําและพนักงานทําตาม Mission และ Vision ขององค์กรจนทําให้เกิดวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้กันดี ภายในองค์กร แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าบริษัทส่วนใหญ่มีค่านิยมองค์กรที่ชัดเจนในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ผู้นําและผู้บริหารเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรส่งผลอย่างมากต่อพนักงานและองค์กร มีผู้นําท่านหนึ่งกล่าวว่า “ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรเป็น Success Factor ขององค์กร” ดังนั้นองค์กรต้องทําค่านิยมองค์กร ให้ชัดเจน และสร้างวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน (อ่านเพิ่มเติมที่ สร้างองค์กรให้แข็งแกร่งเหนือใครด้วยวัฒนธรรมเข้มแข็ง)
  3. ความท้าทายในการดูแลพนักงานที่พบเจอ
    มีความคิดเห็นที่หลากหลายและน่าสนใจในเรื่องนี้ ทั้งเรื่องที่เป็นเรื่องที่ได้ยินเป็นประจํา เช่น การมี Turnover สูง, พนักงานมีอาการ Burnout และมีประสิทธิภาพงานลดลงเมื่อ WFH, พบเจอเรื่องการดึงตัวพนักงานหรือ Talent War, ช่องว่างความสามารถหรือ Capability / Skills Gap, การพัฒนาทักษะพนักงาน และเรื่องที่ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านได้พูดถึงก็คือเรื่อง Generation Gap หรือช่องว่างระหว่างวัยของคนทํางาน โดยมีทั้งในแง่ความแตกต่างในด้านมุมมองการทํางาน ความคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิต ความต้องการที่แตกต่างกันของคนแต่ละช่วงอายุ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องความหลากหลายหรือ Diversity ในที่ทํางาน

จะเห็นได้ว่า ความท้าทายเนื่องจากช่องว่างหรือความต่างระหว่างวัยของพนักงานเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้นําและผู้บริหารให้ความสนใจเพราะพนักงานรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทสําคัญในองค์กรมากขึ้น ข้อมูลจากสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ชี้ว่า ในไตรมาส 2/2565 จํานวนแรงงานในประเทศ ไทยมี 39.77 ล้านคน โดยแรงงานหลักมีอายุตํ่ากว่า 35 ปี และในแต่ละปี จะมีแรงงานเพิ่มขึ้นราว 800,000 คน หมายความว่า คนทํางานรุ่นใหม่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น และบุคคลเหล่านี้จะกลายเป็นกําลังสําคัญในการทํางานในองค์กร ดังนั้นการเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มคนเหล่านี้จึงมีความสําคัญต่อผู้นําและองค์กรในการบริหารจัดการบุคคลและกลยุทธ์ในการจัดการองค์กร

แนวคิดของกลุ่มคนแต่ละ Gen

งานการศึกษาหลายงานกล่าวถึงคนทํางานในช่วงอายุที่แตกต่างกันหรือที่เราเรียกกัน ว่า Generation หรือคน Gen ต่าง ๆ โดยได้มีการแบ่ง Generation ของคนในแต่ละช่วงอายุ ดังในรูปด้านล่างนี้

ซึ่งจะเห็นได้ว่ากําลังคนทํางานหลักในตอนนี้เป็นกลุ่มคน Gen Y และ Z โดยเฉพาะ Entry Level และผู้จัดการหรือระดับผู้บริหารส่วนใหญ่จะเป็นคน Gen Baby Boomer และ Gen X ซึ่งกลุ่มคนแต่ละช่วงอายุจะมีแนวความคิดในด้านการใช้ชีวิต การทํางาน และสิ่งที่ให้ความสําคัญที่แตกต่างกัน ข้อมูลจาก Post Today ในปี 2019 ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 กล่าวถึง ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของคนในแต่ละ Gen

กลุ่มคน Gen Baby Boomer
ลักษณะนิสัย: จริงจัง เคร่งครัดเรื่องธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ ทุ่มเทให้กับการทํางานมีความอดทนสูง ประหยัดอดออม มักถูกมองว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยม

กลุ่มคน Gen X
ลักษณะนิสัย: ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่เป็นทางการ มีแนวคิดเรื่อง Work-life Balance ทํางานตามหน้าที่ ไม่ทุ่มเท ทําทุกอย่างเพียงลําพัง ไม่พึ่งพาอาศัยใคร มีความคิดเปิดกว้างและสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเองสูง

กลุ่ม Gen Y (Millenium)
ลักษณะนิสัย: พวกเขามีลักษณะนิสัยที่ต้องการความชัดเจนในการทํางาน คาดหวังเรื่องเงินเดือนสูง ๆ คาดหวังคําชมเชย ไม่อดทนต่องานที่ทํา

กลุ่ม Gen Z
ลักษณะนิสัย: เปิดกว้างทางความคิด ยอมรับความแตกต่าง ไม่แบ่งแยก มีแนวโน้มทํางานหลาย ๆ งาน ไม่ชอบการรอคอย ความอดทนตํ่า ต้องการเหตุผล และคําอธิบาย

มุมมองแนวความคิดและการทํางานของคนแต่ละ Gen หลังโควิด-19

หลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 ผลสํารวจของ The Wall V.2020 GENERATIONAL FACE-OFFS DURING THE PANDEMIC เรื่องความคิดเห็นและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มคนทั้ง 4 Gen จากข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม 626 คน โดยพบว่า กลุ่มคน Baby Boomer เชื่อว่าตนเองมีความเสี่ยงน้อยมากในการติดโรคโควิด-19 เพียง 24% ทําให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมน้อยที่สุด 71.7% ของกลุ่มคน Gen X มีรายได้เสริมตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 มีการกระจายการลงทุนที่หลากหลาย และพวกเขาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในช่วง WFH อีกด้วย ทําให้พวกเขาสามารถปรับตัวได้ดีที่สุด กลุ่มคน Gen Y มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตมากที่สุด เพราะกว่า 88% ของคนกลุ่มนี้เชื่อว่าตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และกลุ่มคน Gen Z ถึง 42% ค่อนข้างวิตกกังวลเรื่องสุขภาพจนจิตตกไปจนถึงซึมเศร้าในบางครั้ง ทําให้พวกเขามีความกังวลในการติดเชื้อโรคระบาดมากที่สุด

โดยทาง https://www.brandbuffet.in.th/ ได้นำเสนอ Insights พฤติกรรมคนไทยทั้ง 4 Gen ที่เปลี่ยนไปหลังโควิด-19 และทางเราได้หยิบยกพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับมุมมองแนวคิดและการทำงานของคนแต่ละ Gen มาสรุปให้ ดังนี้

กลุ่มคน Gen Baby Boomer
ในมุมมองของแนวคิดและการทํางานพบว่ากลุ่มคน Baby Boomer มองเรื่องการมีคุณค่าในการทํางานและการปฎิบัติตนตามกรอบตามกฎเกณฑ์ พวกเขายึดถือการดําเนินชีวิตเพื่อการทํางานเป็นหลัก เคารพกฎกติกา โดย 96% ของคนกลุ่มนี้ชอบทําในสิ่งที่มีการจัดการแบบเป็น ระบบ มีขั้นตอนที่แน่ชัด ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการชอบทําสิ่งที่มีระบบและแบบแผนในกลุ่มคน Gen อื่น

กลุ่มคน Gen X
พวกเขารักอิสระ รักที่จะเป็นตัวของตัวเอง กล้าแสดงความคิดเห็นหรือวิจารณ์ และมักจะไม่ค่อยสนใจกฎหรือข้อกําหนดที่จํากัดอิสรภาพ ไม่ทําตัวเป็นภาระรวมถึง ชอบช่วยเหลือผู้อื่นด้วย โดยการสอบถามค่านิยมทางทัศนคติพบว่า 100% ของ Gen X เห็นด้วยว่าตนไม่ทําตัวเป็นภาระและตั้งใจจะช่วยเหลือผู้อื่น พวกเขาให้ความสําคัญเรื่องการมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง ปราศจากโรคภัย (มีการตรวจสุขภาพสมํ่าเสมอทุกปีและออกกําลังกายเป็นประจํา) การได้มีชีวิตที่สงบสุขเรียบง่าย พอเพียง รวมไปถึงประสบความสําเร็จด้านความรัก ความสัมพันธ์ในครอบครัว

กลุ่มคน Gen Y (Millenium)  
ค่อนข้างพึ่งพาตัวเองสูง มีความมั่นใจด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มุ่งมั่นต่อความท้าทาย และมองหาประสบการณ์ใหม่ ๆ โดย 88% ของคนกลุ่มนี้คิดว่าตนเองสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และ 75% ชอบเป็นส่วนหนึ่งในเหตุการณ์ที่แปลกใหม่/ไม่เคยเจอ พวกเขามีความทะเยอทะยานเพื่ออิสระเสรีในชีวิตของตัวเอง โดยสะท้อนออกมาผ่านคําตอบถึงความต้องการที่สําคัญของชีวิตที่ว่า ทรัพย์สินเงินทองมีค่าคะแนนสูงสุดถึง 49.6% ซึ่งสอดคล้องกับปัจจัยในการเลือกงานในอนาคตที่ให้ “การสร้างรายได้ที่พึงพอใจ” เป็นปัจจัยหลักสูงถึง 85.4% พวกเขาจะมองหาความมั่นคงด้านรายได้ที่มากขึ้น มากกว่าแค่เรื่อง Passion และมองหาความมั่นคงในอนาคตให้กับตัวเองและครอบครัว พวกเขาต้องการเกษียณก่อนอายุ 60 ปี ที่สูงกว่ากลุ่มคน Gen อื่น

กลุ่มคน Gen Z
ผลการวิจัยพบว่า 78% ของกลุ่มคน Gen Z รู้สึกว่าชีวิตลําบากและรายได้ลดลงอย่างมากในช่วงโรคระบาด โดยคนกลุ่มนี้มีการใช้เงินอย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม First Jobber ที่เจอสถานการณ์โควิดในช่วงเข้าร่วมงานพอดี นอกจากนี้ 96% ของ Gen Z ตอบว่าพวกเขาเป็นคนที่ให้ความสําคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และนึกถึงการร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และยังให้ความสําคัญต่อเรื่องสุขภาพจิตเป็นอย่างมากอีกด้วย ซึ่งผลสํารวจพบว่าพวกเขาค่อนข้างวิตกกังวลเรื่องสุขภาพจนจิตตกไปจนถึงขั้นซึมเศร้าสูงรองจาก Gen Y และพวกเขาคิดว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าสูงถึง 28%

วิธีการทํางานกับกลุ่มคนแต่ละ Gen ให้ราบรื่น

เมื่อมองถึงการทํางานและสถานที่ทํางานก็เป็นหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจ มีหลายองค์กรที่มีการพูดถึงเรื่อง Generation Gap หรือ ช่องว่างระหว่างวัย ที่เกิดขึ้นในที่ทํางาน และสิ่งนี้ส่งผลกระทบในการทํางานร่วมกันในองค์กรเป็นอย่างมาก และถูกพูดถึงจากผู้นําและบริหารจากหลายองค์กร การทํางานกับคนที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ เชื้อชาติ รวมไปถึงวัย ด้วย ความเข้าใจถึงแนวคิดของคนในวัยต่าง ๆ กันจะช่วยให้เราทํางานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และใน Post Today ได้ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการทํางานร่วมกันของ คนในแต่ละ Gen ไว้ดังนี้

ทำงานกับกลุ่มคน Gen Baby Boomer
แสดงความเคารพนับถือ รับฟัง และเรียนรู้ประสบการณ์จากคนกลุ่มนี้ แล้วนํามาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับงานที่ทํา เนื่องจากกลุ่ม Gen Baby Boomer ให้ความสําคัญกับการทุ่มเททํางาน ยึดถือวัฒนธรรมองค์กรและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรแสดงออกทางด้านลบหรือต่อต้านการทุ่มเททํางาน และควรศึกษาวัฒนธรรมองค์กรเสียก่อน ก่อนจะนําเสนอการเปลี่ยนแปลงในด้านนี้

ทำงานกับกลุ่มคน Gen X
สื่อสารด้วยความชัดเจน กระชับ ไม่อ้อมค้อม เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ตัดสินใจในการดําเนินงานด้วยตนเอง เพราะพวกเขาไม่ชอบพึ่งพาใคร ไม่เน้นเรื่องการสั่งการ ลดความคาดหวังเรื่อง การทํางานหนักหรือทํางานในวันหยุด เพราะพวกเขาให้ความสําคัญเรื่อง Work-life Balance

ทำงานกับกลุ่มคน Gen Gen Y (Millenium)
มอบหมายงานที่สนุกและท้าทาย สร้างเวทีให้พวกเขาได้แสดงฝีมือ ให้การชื่นชมอยูเสมอ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของพวกเขา เพราะความรู้สึกและการแสดงออกของเพื่อนร่วมงานและหัวงานมีความสําคัญต่อพวกเขาอย่างมาก

ทำงานกับกลุ่มคน Gen Z
ให้อิสระในการทํางาน มีการทํางานที่ยืดหยุ่น สอดคล้องกับแนวคิด Work-life Balance รับฟังความคิดเห็น และไอเดียของพวกเขาที่มีความสามารถในการค้นหาข้อมูล มีการใช้เครื่องมือหรือระบบในการทํางานที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน ส่งเสริมเรื่อง Well-being และสุขภาพจิตในที่ทํางาน ส่งเสริมนโยบายที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความแตกต่าง และความเท่าเทียมกัน

ค่านิยมและความคาดหวังของพนักงานคนรุ่นใหม่

ข้อมูลแบบสํารวจของกลุ่มคนในประเทศอื่น ๆ (ไม่รวมประเทศไทย) ข้อมูลจาก Gallup ในปี 2021 กล่าวถึงสิ่งที่คนทํางาน Gen ต่าง ๆ คาดหวังจากที่ทํางาน โดยคน Gen X และ Baby Boomer ให้ความสําคัญเรื่องจริยธรรมของผู้นําองค์กรเป็นอันดับแรก เรื่อง Well-being และ ความมั่นคงทางการเงินตามมาเป็นอันดับถัดไป ในขณะที่คนทํางาน Gen Y และ Z ให้ความสําคัญในเรื่อง Well-being เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยเรื่องจริยธรรมของผู้นําองค์กร Gen Z คาดหวังถึงเรื่องความหลากหลายและเปิดรับความแตกต่าง ส่วน Gen Y คาดหวังเรื่องการเปิดรับและความโปร่งใสขององค์กร เมื่อองค์กรและผู้นําทราบถึงความคาดหวังและความต้องการของคนแต่ละ Gen แล้ว สามารถนําสิ่งเหล่านี้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการดูแลและบริหารจัดการบุคลากรในองค์กรได้

ตัวอย่างการดําเนินการที่พนักงาน Gen Y และ Z มองหาในองค์กร

ตัวอย่างเช่น
องค์กรสื่อสารข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล และมีการรับรองผ่านบุคคลที่สามเพื่อให้มั่นใจถึงความโปร่งใสกับกลุ่มพนักงาน Gen Y สําหรับพนักงาน Gen Z ผู้นําองค์กรส่งเสริมเรื่องความหลากหลายและเปิดรับความแตกต่าง อาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาองค์กรผ่านแนวคิด ESG (Environment, Social, และ Governance) ที่ให้ความสําคัญกับความรับผิดชอบในสามด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม, สังคม (ในเรื่องความสัมพันธ์และการสื่อสารกับพนักงาน ลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง), และการกํากับดูแล (ในด้านความโปร่งใสของการบริหารจัดการองค์กร) ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนนั่นเอง  

ข้อมูลในปี 2022 รายงานผลสํารวจเยาวชนโลก (Global Youth Survey Report) ของ บริษัท NielsenIQ ทําแบบสํารวจออนไลน์กับกลุ่มเยาวชนอายุ 18 - 29 ปี จํานวน 1,975 คน จาก 19 ประเทศทั่วโลก เก็บข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2021 ในหัวข้อ การทํางาน, การเข้าถึง ระบบดิจิตัล, ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก, และสุขภาพจิต โดยมี 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ทํางานประจํา โดยพบว่า

  • ผู้ตอบแบบสอบถามมีความมั่นใจในชุดทักษะหรือ Skill Sets ของตนเองแต่ก็ยังคงมองหาบริษัทหรือองค์กรที่ส่งเสริมเรื่องการพัฒนาทักษะให้พวกเขา
  • การเข้าถึงทางดิจิตัลเป็นเรื่องที่จําเป็นอย่างยิ่ง
  • ให้ความสําคัญเรื่องสุขภาพจิต โดยมองว่าองค์กรจําเป็นต้องรับผิดชอบเรื่องสุขภาพจิตของพนักงาน (พวกเขาคิดว่าอุปสรรคในการไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านสุขภาพจิตคือค่าใช้จ่ายและเป็นเรื่องที่น่าอาย)
  • มองว่าองค์กรสามารถไปถึงเป้าหมายเรื่องความยั่งยืนได้ด้วยการใช้สิ่งกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ (Incentive) เข้ามาช่วย และเรื่องความยั่งยืนที่วิกฤตอยู่ตอนนี้ก็คือ เรื่องการว่างงาน ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

หลักเกณฑ์ ในการเลือกงาน สําหรับผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่ม Gen Z และGen Y
เมื่อกล่าวถึงหลักเกณฑ์ ในการเลือกงานสําหรับผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มนี้ซึ่งเป็นกลุ่มคน Gen Z และGen Y ตอนปลาย กว่า 74% ใช้เกณฑ์เรื่องเงินเดือนในการตัดสินใจในการเข้าทํางานเป็นหลัก ตามมาด้วย 52% คํานึงถึงการเติบโตทางหน้าที่การงาน 41% คํานึงถึงความมั่นคงในงาน 37% คํานึงถึงสวัสดิการ 34% ให้ความสําคัญกับชั่วโมงการทํางานที่ยืดหยุ่น คํานึงถึงเรื่องคนและวัฒนธรรม ชื่อเสียงในอุตสาหกรรม การรับผิดชอบ ต่อสังคม และทางเลือกสําหรับการทํางานทางไกล ตามลําดับดังแสดงในกราฟ

เรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือจากองค์กร สําหรับผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่ม Gen Z และGen Y
ในส่วนของความต้องการความช่วยเหลือจากองค์กรของกลุ่ม Gen Z และ Gen Y ที่ต้องการมากที่สุดคือเรื่องการช่วยเหลือทางด้านการเงินในการพัฒนาทักษะหรือ Upskills สูงถึง 68% ในลําดับถัดมาก็คือโอกาสในการทํางานในต่างประเทศคิดเป็น 43% และ 40% ของกลุ่มคนนี้ต้องการลางานเพื่อการศึกษา โอกาสในการทําโปรเจคพิเศษ(นอกเหนือจากงานประจํา) เรื่องนโยบายความหลากหลายและการเปิดรับความแตกต่างทางด้านเพศและชาติพันธุ์ในองค์กร วันลาหยุด อาสาสมัครเรื่อง ESG และการลาคลอด ตามลําดับ ดังแสดงในกราฟ

ผลสํารวจและข้อมูลเชิงลึกความคาดหวังของพนักงานคนรุ่นใหม่

ทีมงาน Happily.ai ศึกษาความต้องการและความคาดหวังของพนักงานรุ่นใหม่ต่อการงานและ สถานที่ทํางานในประเทศไทยผ่านการตอบแบบสอบถาม โดยที่กระจายและส่งต่อแบบสอบถามผ่านช่องทาง Social Media ต่าง ๆ อาทิ Facebook Twitter และ LinkedIn กลุ่มเป้าหมายของงานศึกษาชิ้นนี้คือ คนรุ่นใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี และมีประสบการณ์ทํางานไม่เกิน 5 ปี จํานวนทั้งหมด 49 คน สามารถอ่านตัวอย่างแบบสอบถามและกราฟข้อมูลเพิ่มเติมได้

ลําดับความสําคัญที่พนักงานรุ่นใหม่คาดหวังจากงานและที่ทํางาน

จากผลสำรวจเราพบว่า พนักงานกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความสําคัญกับเงินเดือนและสวัสดิการเป็นอันดับแรก รองลงมาคือสภาพแวดล้อมการทํางาน (เช่น ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในทีมและหัวหน้า และที่ทํางานจัดหา Facility ให้อย่างเพียงพอ เป็นต้น) ตามด้วยการได้ทํางานที่ตรงกับความต้องการของตนเอง และสุดท้ายงานต้องมี Work-life Balance และมีนโยบายการทํางานแบบ Hybrid หรือ WFH (Work From Home)

คุณลักษณะของผู้นําและหัวหน้างานในฝันของพนักงานรุ่นใหม่

ผลสำรวจพบว่าพนักงานรุ่นใหม่อยากให้หัวหน้าเปิดใจและรับฟังความคิดเห็น มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และคอยให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นคุณลักษณะจําเป็นในการเป็นหัวหน้าทีมและผู้นําองค์กรที่ดี และอยากร่วมงานด้วย

รูปแบบการชื่นชมและให้การยอมรับ (Recognition) ที่ชื่นชอบ

สําหรับรูปแบบการชื่นชมและให้การยอมรับ (Recognition) ที่พวกเขาชื่นชอบพบว่า เงิน โบนัสคือสิ่งที่ต้องการมากที่สุด ตามด้วยการพูดชื่นชมแบบตัวต่อตัว ของรางวัล (เช่น Voucher หรือถ้วยรางวัล เป็นต้น) และการชื่นชมจากหัวหน้างาน จะเห็นได้ชัดว่า เงินเดือนและสวัสดิการ (รวมทั้งเงินโบนัส) คือเรื่องสําคัญที่สุดของพนักงานรุ่นใหม่ เมื่อคํานึงถึงค่าแรงขั้นตํ่า ค่าครองชีพ ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบัน ความมั่นคงทางการเงินจึง เป็นเรื่องที่พวกเขาให้ความสําคัญที่สุด และจากแบบสํารวจยังพบว่า กว่า 70% พวกเขาคิด และวางแผนที่จะโยกย้ายงานไว้แล้ว และเห็นว่า 6 เดือน ถึง 2 ปี คือช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งก็เป็นไปตามช่วงวัยที่กําลังค้นหาความต้องการของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมการทํางานที่ดีช่วยให้การทํางานราบรื่น มีความสัมพันธ์ในทีมที่ดี มี Work-life Balance และเนื้องานไปในทิศทางที่พวกเขาอยากทําก็เป็นองค์ประกอบสําคัญต่อพนักงานรุ่นใหม่เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ MIT Sloan ที่พบว่าปัจจัย สําคัญของปรากฎการณ์ The Great Resignation คือ วัฒนธรรมอัน Toxic ในที่ทํางาน ซึ่งขัดขวางให้การทํางานร่วมกันภายในทีมและองค์กรเป็นไปอย่างยากลําบาก และบีบให้พนักงานลาออกในที่สุด

พนักงานรุ่นใหม่ให้ความสําคัญกับความสัมพันธ์ในทีมที่ดี ทํางานร่วมกันอย่างราบรื่น ดังนั้น หัวหน้าทีมและผู้บริหารที่พร้อมเปิดใจรับฟังความคิดเห็น มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และ คอยให้การสนับสนุนช่วยเหลือจะสามารถชนะใจพวกเขาให้ทํางานร่วมกันได้นานยิ่งขึ้น

วิธีบริหารจัดการและรักษาพนักงานคนรุ่นใหม่ให้อยู่กับองค์กร

จากข้างต้นเราได้เข้าใจและทราบถึงความต้องการของคนแต่ละ Gen และยังได้ทราบถึง ข้อมูลเชิงลึกจากผลแบบสํารวจของกลุ่มคนที่เป็น First Jobber ในประเทศไทย ที่เป็นกลุ่มคน Gen Z และ Gen Y กลุ่มคนนี้เองที่เป็นกําลังหลักขององค์กรตอนนี้และในอนาคต ดังนั้นการดูแลและรักษาให้พนักงานคนรุ่นใหม่ให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ จึงเป็นเรื่องที่องค์กรต้องให้ความสําคัญและดําเนินการกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์โรคระบาดได้เบาบางลง ด้วยกลุ่มคน Gen Z และ Gen Y เป็นวัยที่กําลังค้นหาและสร้างฐานะสร้างความมั่นคงให้ตนเอง จึงไม่แปลกใจนักที่มีการโยกย้ายหรือเปลี่ยนงานกันในระยะเวลาอันสั้น อาจจะด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เช่น ต้องการการเติบโตจึงย้ายไปองค์กรใหม่ ต้องการงานที่ใช่หรืองานที่อยากทํามากกว่าเดิม หรือ มองหาสภาพแวดล้อมการทํางานและวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมและไม่เป็นพิษหรือ Toxic และอื่น ๆ

มีคําถามหนึ่งที่น่าสนใจจากผู้บริหารว่า “เป็นไปได้หรือไม่ที่องค์กรและผู้นําองค์กรสามารถทําให้พนักงานรู้สึกได้ว่าอยากเติบโตไปพร้อมกับองค์กร จะมีวิธีใดหรือเครื่องมือใด ที่ช่วยเหลือด้านนี้ได้บ้าง ?”

เมื่อพิจารณาถึงการทําให้พนักงานในองค์กรมีความรู้สึกเติบโตไปพร้อมองค์กร องค์กรสามารถนําเสนออะไรได้บ้างในส่วนนี้ เริ่มต้นจากความเข้าใจที่แท้จริงของพนักงานว่า แต่ละคนให้ความหมายของการเติบโตในองค์กรในแง่มุมใด ในแง่มุมทางการเงินหรือค่าตอบแทน แง่มุมการพัฒนาทักษะในสายงานทั้งทางด้าน Hard และ Human Skills หรือในแง่เส้นทางการเติบโตในองค์กรหรือ Career Path ที่พวกเขาสามารถรับรู้และมองเห็นสิ่ง ๆ นี้ ได้ ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องและแนวคิดของแต่ละบุคคล

ดังนั้นเมื่อต้องการดําเนินการในภาพรวมสามารถเริ่มได้จากการสร้างสภาพแวดล้อม การทํางานและวัฒนธรรมองค์กรที่ตอบโจทย์พนักงานคนรุ่นใหม่ ในบทความของเราเกี่ยวกับ 10 ขั้นตอนในการรักษาพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความสามารถไว้กับองค์กร (Talent Retention) และในที่นี้ขอนําเสนอแนวทางและตัวอย่างแผนการดําเนินการสําหรับผู้นําและองค์กรในแต่ละขั้นตอนในการรักษาพนักงานคนรุ่นใหม่ ดังนี้

  1. สร้างงานที่ตอบโจทย์ความต้องการหรือสร้าง “งานที่ดี” ด้วยการส่งเสริมการให้การชื่นชมยอมรับเพื่อให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า, ส่งเสริมด้านการเรียนรู้ทักษะและความก้าวหน้าของพนักงาน, และส่งเสริมการสื่อสาร การให้และรับฟีดแบ็กในทีม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
  2. สื่อสารโอกาสของความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ด้วยการสื่อสารที่ชัดเจนถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงานของพนักงาน และจัดทําคู่มือหรือเอกสารระบุหลักเกณฑ์หรือมาตรฐานในการประเมินผลงาน และปรับตําแหน่งงาน
  3. สร้างความสัมพันธ์เชิงบวกตั้งแต่ก่อนการจ้างงาน ด้วยการจัดสัมภาษณ์งานแบบไม่เป็ นทางที่ทําให้ผู้สมัครรู้ถึงค่านิยมขององค์กร ก่อนการสัมภาษณ์จริง, จัดทัวร์ในที่ทํางานจริงเพื่อให้โอกาสผู้สมัครเข้าชมและสัมผัสบรรยากาศการทํางานของพนักงานในสถานที่จริง, และพิจารณาและประเมินความสอดคล้องค่านิยมของผู้สมัครกับองค์กรผ่านชุดคําถามหรือเครื่องมือประเมินวัฒนธรรมองค์กร
  4. สร้างความประทับใจตั้งแต่วันแรกของการทํางาน ด้วยการสร้างประสบการณ์การทํางานในวันแรกที่ดีให้กับพนักงาน เช่น เตรียมสถานที่พร้อมอุปกรณ์ทํางานมี Welcome Note บนโต๊ะทํางาน มีชุด Welcome Gift Set เป็นต้น และมีนโยบายหรือข้อปฎิบัติในการแนะนําเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องให้กับพนักงานใหม่ในวันแรกของการทํางาน
  5. จัดหา Mentor ให้กับพนักงาน ด้วยการจัดโปรแกรม Mentoring จัดหา Mentor ที่คอยให้ข้อมูลและเชื่อมต่อพนักงานใหม่เข้ากับชีวิตสังคมของการทํางานในองค์กร และมี โปรแกรม Mentoring จัดหา Mentor ให้กับพนักงานในทุกระดับในองค์กร
  6. สื่อสารและอธิบายความคาดหวังอย่างชัดเจน ด้วยการสื่อสารที่ชัดเจนว่าอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังของกฏเกณฑ์ต่าง ๆ และสอบถามความคิดเห็นของพนักงานหรือทําแบบสํารวจเมื่อต้องการปรับเปลี่ยนหรือกําหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาโดยตรง
  7. สร้างวัฒนธรรมที่พนักงานรุ่นใหม่สามารถตั้งคําถามได้ ด้วยการส่งเสริมการเปิดโอกาสให้พนักงานรุ่นใหม่ได้ถามคําถาม เช่น จัดเซสชั่นที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยสําหรับการเรียนรู้และแสดงความคิดเห็น และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการถามคําถามเป็นเรื่องที่ดีที่ส่งเสริมภายในองค์กร
  8. เข้าใจชีวิตนอกเหนือการทํางาน ด้วยการส่งเสริมนโยบายการไม่รบกวนเวลาส่วนตัวของพนักงานหรือติดต่อเรื่องงานนอกเวลางาน
  9. ส่งเสริมบรรยากาศแห่งความเคารพและให้เกียรติทุกคน ด้วยการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทํางานที่ดีและไม่เป็นพิษ, มีบทลงโทษสําหรับพฤติกรรมที่ทําให้วัฒนธรรมองค์กรเป็ นพิษ (เช่น การเหยียดเชื้อชาติ การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการดูหมิ่น), และส่งเสริมเรื่องความเคารพซึ่งกันและกัน ความหลากหลาย และการยอมรับ ความแตกต่างในองค์กร
  10. สร้างสถานที่ทํางานที่มีความเท่าเทียม ด้วยการส่งเสริมให้ผู้นําในทุกระดับให้ความสนใจในเรื่องพื้นฐานของพนักงาน เช่น ความแตกต่างด้านเชื้อชาติและเพศ ในด้านค่าตอบแทน ชั่วโมงการทํางาน และการมอบหมายงาน และส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา เพศ โดยไม่คํานึงถึงภูมิหลังที่แตกต่างกัน

สิ่งที่ผู้นำองค์กรต้องปรับตัวในการดึงดูด Talent คนรุ่นใหม่

ผู้ก่อตั้ง QGen Consultant และเพจเฟซบุ๊ก “HR - The Next Gen” ได้ ให้สัมภาษณ์ ในพอดแคสท์ The Secret Sauce ในตอน “วิธีชนะใจ Talent ยุคใหม่ ดึงคนเก่งในโลก ผันผวน” เมื่อตอนที่ได้เข้าร่วมงาน SHRM Annual Conference 2022 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอะไรคือสิ่งที่ผู้นําองค์กรหรือผู้บริหารต้องการรู้ว่าองค์กรปรับตัวในการดึงดูด Talent คนรุ่นใหม่ได้อย่างไร โดยกล่าวถึง 2 ปัจจัยหลักที่ผู้นําต้องคํานึงถึง คือ

  1. วิสัยทัศน์ในอนาคตขององค์กร
    พนักงานที่เป็น Talent ให้ความสําคัญกับความมั่นคงขององค์กรเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าผู้นําสามารถสื่อสารเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ในอนาคตขององค์กรได้อย่างชัดเจน สิ่งนี้จะช่วยดึงดูดพนักงานกลุ่ม Talent ได้มากขึ้น เพราะสิ่งนี้บ่งบอกถึงการเติบโตและมุ่งไปข้างหน้าขององค์กร
    Action: ผู้นําองค์กรสื่อสารเรื่องวิสัยทัศน์ในอนาคตขององค์กรอย่างชัดเจน และมีการสื่อสารเรื่องนี้อย่างสมํ่าเสมอ เช่น อาจจะสื่อสารผ่านการประชุม Townhall ขององค์กร สื่อสารผ่านอีเมล์หรือช่องทางออนไลน์ในช่วงเวลาพิเศษ (ปีใหม่ หรือวันครบรอบจัดตั้ง บริษัท)
  2. Rewards & Recognition หรือการให้รางวัลและการชื่นชม
    สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง Well-being และสุขภาพจิตใจของพนักงาน ผู้นําจําเป็นต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ทําให้พนักงานอยู่และไปต่อกับองค์กร (จุดแข็งขององค์กร) และพนักงาน เหล่านี้อยากเล่าหรือพูดถึงองค์กรว่าพวกเขาภูมิใจที่ได้ทํางานที่นี่ ซึ่งความภาคภูมิใจนี้ เพียงพอที่จะทําให้คนอื่นรู้สึกอิจฉาได้เลย โดย Rewards หรือการให้รางวัลจะเน้นที่ผลของงาน ส่วน Recognition หรือการชื่นชมและยอมรับจะเน้นที่ความพยายาม การทุ่มเททํางาน สิ่งนี้ทําให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
    Action: ส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการให้ Recognition ในองค์กร สนับสนุนโปรแกรม Rewards & Recognition ให้พนักงานในองค์กร

การดึงดูดและรักษาพนักงานคนรุ่นใหม่ให้อยู่และเติบโตไปพร้อมกับองค์กร โดยองค์กรและผู้นําต้องเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของพนักงานคนรุ่นใหม่ พิจารณาจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ Well-being, ความมีจริยธรรม, ความโปร่งใสของผู้นํา, และความหลากหลาย เท่าเทียม และเปิดรับความแตกต่าง หรือ DEI (Diversity, Equity, และ Inclusion)

ในฐานะผู้นําองค์กร คุณจะรู้ได้ว่าองค์กรมีกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานคนรุ่นใหม่หรือไม่อย่างไรจากหัวข้อดังต่อไปนี้

  • กลยุทธ์การดึงดูด Talent เข้ามาร่วมงานได้มีการเน้นยํ้าถึงเรื่อง Well-being และ Mental Health แล้วหรือไม่
  • โปรแกรมฝึกอบรมและเตรียมตัวสําหรับพนักงานใหม่ได้กล่าวถึงหลักจริยธรรมที่มีความหมายในองค์กรแล้วหรือไม่
  • เมื่อมีการสื่อสารกับพนักงานทุกคนในองค์กร ผู้นําดำเนินการด้วยความโปร่งใสและเปิดกว้างต่อความคิดเห็นของพนักงานทุกคนแล้วหรือไม่
  • ระบบการปรับเลื่อนตําแหน่งและความก้าวหน้าในงานมีความโปร่งใส และคํานึงถึงเรื่องความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างใช่หรือไม่

ทราบกันดีว่าพนักงานรุ่นใหม่ให้ความสําคัญในเรื่องการเติบโตและการเรียนรู้ ดังนั้น ผู้นําและองค์กรควรให้ความสําคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์กร โดยสามารถศึกษาบทความของเราเรื่อง 5 วิธีที่ผู้จัดการสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้พนักงานได้

บทสรุป

การทํางานร่วมกันในองค์กรเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และช่วงอายุ และการทําให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายมารวมตัวกัน มีแนวคิด แนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องและส่งเสริมกับเป้าหมายและความสําเร็จขององค์กร ต้องอาศัยความเข้าใจความต้องการ การสื่อสารที่ชัดเจน ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง การวางนโยบายและกลยุทธ์ที่ส่งเสริม Well-being ของพนักงาน และเป็นที่ทราบกันว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นกําลังสําคัญในองค์กรในตอนนี้และอนาคตอันใกล้ ดังนั้นความเข้าใจความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้จะช่วยให้องค์กรสามารถรักษากําลังหลักขององค์กรไว้ได้ และสามารถนําไปปรับประยุกต์การทํางานให้เข้ากันกับคนต่างวัยในองค์กรที่เปิดใจรับฟังและยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถทํางานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทํางานที่ดีขึ้นและมี Productivity มากขึ้น มาส่งเสริมให้เกิดสถานที่ทํางานที่พนักงานทุกเพศทุกวัยสามารถทํางานร่วมกันได้อย่างมีความสุข ช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนกัน!

Happily.ai

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!