Feedback ช่วยให้พนักงานมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มมากขึ้นจริงเหรอ

4 ขั้นตอนของวิธีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจากการให้และรับฟีดแบ็ก จากหนังสือ You Can Change Other People
Feedback ช่วยให้พนักงานมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มมากขึ้นจริงเหรอ

Feedback (ฟีดแบ็ก) คืออะไรในที่ทำงาน

Feedback เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการทำงาน สามารถมาในรูปแบบของความเห็นสั้นๆ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย หรือการปรึกษาหารืออย่างละเอียดและมีหลักการถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งใดที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ในอนาคต

ในงานวิจัยมากมายได้พูดถึงข้อดีของการมีวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback ในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน, การสื่อสารภายในทีมที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น, การทำงานไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายขององค์กร, เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ของคนในองค์กร, และช่วยเรื่องลดอัตราการลาออกของพนักงาน

วัฒนธรรมการให้และรับ Feedback สร้างผลกระทบเชิงบวกจริงหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว หลายๆ องค์กรยังคงไม่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกจากการมีวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback ได้อย่างเต็มที่ เราจึงต้องหันกลับมาดูว่าอะไรคือจุดประสงค์ที่แท้จริงของการให้และรับ Feedback
จุดประสงค์หรือเป้าหมายของ Feedback ก็คือเพื่อช่วยให้คนพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น, สร้างสรรค์ผลงานให้ทีมมากขึ้น, และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน เราต้องการให้ที่ทำงานเป็นสถานที่ที่พนักงานสามารถสื่อสารกันได้อย่างจริงใจและมีประสิทธิภาพในเรื่องการเติบโตของพวกเขาและการพัฒนาปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น

แต่การที่เราไปบอกว่าอะไรมันขาดหายไปนั้นไม่ได้ช่วยให้คนคนนั้นทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วส่งผลในทางตรงกันข้าม Richard Boyatzis และทีมพบว่า ในการให้ Feedback แบบ 360 องศานั้น การให้ Feedback ในเชิงลบลดความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานได้ และยังหยุดยั้งการค้นหาความต้องการและเป้าหมายในอนาคตของพนักงานคนนั้น ๆ อีกด้วย

ในบทความของ HBR ปี 2019 เรื่อง “The Feedback Fallacy” หรือ ความผิดพลาดของ Feedback Marcus Buckingham และ Ashley Goodall marshal มีหลักฐานมากมายว่าการมุ่งเน้นไปที่ข้อผิดพลาดหรือจุดอ่อนไม่ได้ช่วยทำให้คนที่ได้รับ Feedback ดีขึ้นในเรื่องนั้น ๆ  

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าการให้และรับ Feedback ถือเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่งในทุกรูปแบบของการสื่อสาร ผู้ให้ Feedback ต้องวิจารณ์หรือประเมินผู้รับ และสิ่งนี้อาจทำให้ผู้รับ Feedback รู้สึกไม่ดี ดังนั้นผู้ให้จะพยายามหลีกเลี่ยงการให้ Feedback ตั้งแต่ต้น และถ้าเกิดมีโอกาสหรือจังหวะที่สามารถให้ Feedback ได้ แล้วคนที่ได้รับ Feedback อาจจะรู้สึกอับอายที่ได้ยินว่า “คุณยังดีไม่พอ หรือ คุณต้องเปลี่ยนแปลง” โดยปกติคนเราจะทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงความอับอายนี้ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ยอมรับปัญหา (ไม่มีปัญหา = ไม่อับอาย) หรือกล่าวโทษผู้อื่น (ไม่ใช่ความผิดของฉัน = ไม่อับอาย) แม้ว่าผู้รับ Feedback จะแสดงออกเชิงบวกหรือมีความเป็นผู้ใหญ่พอ แต่บ่อยครั้งที่ภายในใจของพวกเขาจะอยู่ในโหมดสู้หรือหนีดี

แล้วการให้ Feedback เชิงบวกที่บอกว่าคนคนนั้นทำอะไรได้ดีแล้วล่ะ สิ่งนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการประเมินผลหรือการวิจารณ์ กล่าวคือถ้าผู้ให้ Feedback เห็นด้วยกับพฤติกรรมของผู้รับแล้ว ผู้ให้ก็สามารถไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของผู้รับได้เช่นกัน บวกกับการที่โฟกัสแต่ข้อดีจะไม่ได้บอกถึงจุดอ่อนที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของผู้รับเลย

Happily.ai ได้ออกแบบเทมเพลตการประเมินผลงานแบบ 360 องศาที่สามารถทำงานร่วมกับการประเมินผลงานของคุณได้โดยง่ายและใช้ได้จริง เพื่อให้ Feedback ในการทำงานของพนักงานมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปรับใช้ต่อได้ทันที เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและผลงานขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น ดาวน์โหลดได้ทันทีที่นี่

วิธีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจากการให้และรับ Feedback

จากบทความของ HBR เรื่อง Feedback ไม่พอที่จะช่วยให้พนักงานเติบโต ของ Peter Bregman และ Howie Jacobson ได้แนะนำ 4 ขั้นตอนของวิธีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงจากการให้และรับ Feedback โดยอ้างอิงมาจากหนังสือ You Can Change Other People นำเสนอขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1: เปลี่ยนจากผู้ประเมินหรือผู้วิจารณ์เป็นมิตร (คนที่อยู่ฝั่งเดียวกัน)
ไม่มีใครต้องการคุยกับคนที่คอยมาวิจารณ์งานเรา ทุกคนต้องการคุยกับคนที่อยู่ฝั่งเดียวกัน เมื่อคุณเป็นมิตรกับใครสักคน คุณจะแสดงความห่วงใยต่อเขา จะมั่นใจในตัวเขา และให้คำมั่นสัญญาต่อเขา เช่นเดียวกันกับที่เขาเองก็ลดความกังวลเรื่องความอับอายและการปกป้องตัวเอง และเขาจะโฟกัสที่การพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นแทน

แล้วคุณสามารถสื่อสารให้ชัดเจนได้อย่างไรว่าคุณเป็นผู้ประเมินหรือเป็นมิตรกันแน่ และนี่คือสามสิ่งที่คุณทำได้

  1. แสดงความเห็นอกเห็นใจ -  ถ้าเขารู้สึกติดขัดปัญหา แสดงให้เขารับรู้ว่าเรารู้สึกถึงความหนัก, ความท้อแท้,​ ความน่าหงุดหงิด, หรือความเจ็บปวดของปัญหานั้นๆ
  2. บอกกล่าวถึงความมั่นใจในตัวเขา - บอกให้เขารู้ว่าคุณเชื่อมั่นในการรับมือกับปัญหาที่เขาเผชิญอยู่
  3. ขออนุญาต - ถามเขาว่าเขาเต็มใจที่จะคิดและแก้ไขปัญหาไปกับเราหรือไม่

ลองจินตนาการดูว่าถ้าเพื่อนร่วมงานของเรารู้สึกติดขัดกับการเป็นหัวหน้าทีมและดูแลลูกทีมที่มีปัญหา (ที่คอยก่อกวน) ในทีม การเริ่มบทสนทนาแบบเป็นมิตรสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการพูดว่า “มันฟังดูน่าท้อแท้ใจมากเลย และฉันรู้ว่าคุณสามารถรับมือกับมันได้ หรือคุณอยากจะลองคิดเรื่องนี้ด้วยกันไหม”

ทำให้องค์กรพัฒนาและเติบโตด้วย Feedback ที่มีความหมายไปกับ Happily.ai

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ขั้นที่ 2: ระบุผลลัพธ์ที่มีพลังผลักดัน
หลังจากที่เขาตอบว่า “อยาก” จะเป็นการกลับมาพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ยังก่อน เรายังไม่กลับไปเรื่องปัญหา สิ่งที่ควรทำก่อนก็คือ การพูดถึงผลลัพธ์ที่ต้องการจากการแก้ปัญหานี้ โดยตั้งคำถามว่า “ผลลัพธ์อะไรที่คุณต้องการ” โดยให้เขาได้อธิบายและถ่ายทอดถึงอะไรที่เขาต้องการจะทำให้สำเร็จทั้งต่อตัวเขาและต่อองค์กร เช่น ฉันอยากสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงที่ทุกคนสื่อสาร ร่วมแรงร่วมใจ และแม้ว่าเกิดการขัดแย้งกันก็ยังส่งผลต่องานที่มี Productivity มากยิ่งขึ้น การพูดถึงผลลัพธ์นี้ช่วยให้เขามีความคิดเชิงบวก มีความชัดเจน และเห็นความหมายของสิ่งที่กำลังจะทำ

ขั้นที่ 3: ค้นหาโอกาสที่ซ่อนอยู่
และเมื่อรู้ผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างชัดเจนแล้ว คุณและเขาสามารถกลับไปที่ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่แทนที่จะหา “วิธีการแก้ไข” แต่ให้ตั้งคำถามว่า ปัญหานี้ช่วยเราให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างไร ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องดีได้อย่างไร มันเป็นโอกาสฝึกฝนพฤติกรรมใหม่ในการบริการที่มีคุณค่าหรือเป้าหมายหรือเปล่า โอกาสนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าหรือเปล่า

ในกรณีตัวอย่างของความรู้สึกติดขัดของการเป็นหัวหน้าทีมนี้ หลังจากการระดมสมอง คุณอาจพบว่า ลูกทีมที่มีพฤติกรรมก่อกวน มีเพียงแค่คนเดียวในทีม ที่พยายามสร้างข้อขัดแย้งในประเด็นสำคัญๆ ในทีม เราสามารถคิดในทางกลับกันได้ว่า ถ้าไม่มีคนคนนี้ปัญหาใหญ่อาจไม่ถูกพูดถึงเลยก็ได้ หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่ง ถ้าคนคนนี้ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับสไตล์การทำงานเพียงเล็กน้อย ผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น ผู้ก่อกวนในทีม อาจกลายมาเป็นคนทำงานหลักที่มีประสิทธิภาพสูงของทีมก็เป็นได้

ขั้นที่ 4: สร้างแผนระดับ10 หรือ level-10 plan
ในขั้นตอนนี้ คุณแนะนำให้เขาระดมความคิดในการใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ เลือกและให้คำมั่นว่าจะดำเนินการตามแผนงานให้สำเร็จลุล่วง โดยใช้แผนงานที่เรียกว่า “แผนระดับ-10” นั่นก็คือ เมื่อเราถามว่า “จากคะแนน 1 - 10 คุณมั่นใจมากน้อยเพียงใดที่จะดำเนินการตามแผนการนี้”   และคำตอบได้ออกมาอย่างเด่นชัดว่า 10

แผนระดับ-10 ของผู้นำทีมที่รู้สึกติดขัด สามารถกำหนดเวลาในการพูดคุยกับลูกทีมที่เป็นผู้ก่อกวน โดยเป็นบทสนทนาของคนที่อยู่ฝั่งเดียวกัน เพื่อช่วยให้ลูกทีมทำงานให้ทีมในเชิงสร้างสรรค์ได้

ความสำเร็จของแผนการไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่การที่เขาทำตามแผนการในการดำเนินการวิธีการใหม่ๆ มีการวัดผล และการก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ

จากขั้นตอนที่กล่าวมาขั้นต้นนั้น การให้ Feedback  เราต้องทำให้ผู้รับ Feedback รับรู้ถึงความปรารถนาดีของผู้ให้ได้ด้วยการแสดงความเห็นอกเห็นใจ แสดงความเชื่อมั่นในตัวผู้รับ และความเต็มใจในการรับฟัง Feedback  และสำหรับผู้ให้ Feedback เองก็ควรมีความคิดเชิงบวกว่าอาจมีโอกาสในวิกฤต, มีความชัดเจนในผลลัพธ์ที่ต้องการ, รู้ว่าการให้ Feedback เป็นสิ่งที่มีความหมาย, และมีความตั้งมั่นที่จะดำเนินการตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ได้

Happily.ai แพลตฟอร์มการวิเคราะห์บุคคลากรและสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ได้ออกแบบการสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยน Feedback  โดยคำนึงถึง​​ปัญหาของการให้ Feedback ในองค์กร ที่ทุกวันนี้การที่เรารับฟีดแบ็กจากการประเมินผลการทำงาน (Performance Reviews) มีความโอนเอียงและไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงอย่างแท้จริง เราจึงต้องการให้ Feedback ที่สามารถต่อยอดได้ออกมาในรูปแบบที่เหมาะสมและถูกเวลา มีการวางโครงสร้างที่ดีและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในงานการศึกษาข้อมูลของเราได้แสดงให้เห็นว่าการริเริ่มวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback ช่วยเสริมสร้าง Growth Mindset ของพนักงานในองค์กรได้

บทสรุป

Feedback ที่ถูกส่งต่ออย่างเหมาะสม, ถูกเวลา, มีการวางโครงสร้างที่ดี, และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกได้ถึงจุดบอดและโอกาสในการเติบโตและพัฒนาตนเอง แต่สิ่งนี้จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อ Feedback ได้ถูกปลูกฝังลงไปในกระบวนการที่แท้จริงของการเติบโตและการพัฒนา

Happily.ai ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างวัฒนธรรมของการให้ Feedback และ Growth Mindset ด้วยการแลกเปลี่ยน Feedback ระหว่างกัน รวมถึงประสบการณ์อื่นๆ อีกมากมายที่จะพัฒนาพนักงาน หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าเยี่ยมชมที่เว็บไซต์ของเราเพื่อทดลองใช้งานและเริ่มต้นเส้นทางสู่ผลลัพธ์เชิงบวก ด้วยองค์กรที่มีความสุขและประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

[1]https://www.cmtedd.act.gov.au/__data/assets/pdf_file/0003/463728/art_feedback.pdf

[2]https://hbr-org.cdn.ampproject.org/c/s/hbr.org/amp/2021/12/feedback-isnt-enough-to-help-your-employees-grow

[3]https://blog.happily.ai/th/creating-a-feedback-culture-to-develop-a-growth-mindset-in-your-organization-th/

[4] People photo created by rawpixel.com - www.freepik.com

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!