4 ปัจจัยของความสำเร็จ ในการทำ Organization Development

การทำ Organization Development หรือ การพัฒนาองค์กร ให้ประสบความสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง? เรียนรู้จากบทความของเรา:
4 ปัจจัยของความสำเร็จ ในการทำ Organization Development

การทำ Organization Development หรือที่เรียกกันอย่างเข้าใจง่ายๆ พูดจาภาษาไทย ว่า การพัฒนาองค์กร เป็นสิ่งที่ไม่ได้แปลกใหม่อะไร แต่สำคัญอย่างมากในการดำเนินกิจการให้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันยุคทันสมัย ในด้านความสำคัญนั้น ก็จัดได้ว่าสำคัญอย่างมาก ระดับที่บางองค์กรต้องมีผู้ที่เชี่ยวชาญ รับตำแหน่งในด้านนี้โดยตรง หรือมีแผนกที่จัดการในด้านนี้โดยเฉพาะที่เดียว

แต่ค่อนข้างจะชัดเจนมากว่า การที่จะมีแผนกหรือตำแหน่งนี้ขึ้นมาเสียตำแหน่งหนึ่งอาจจะยากสำหรับองค์กรเล็กๆ ที่มีพนักงานไม่มากมาย กำลังรอที่จะเติบโตขึ้นไปเป็นบริษัทขนาดใหญ่มากขึ้นในอนาคต เนื่องจากต้องมีงบประมาณและค่าใช้จ่ายอยู่มากพอสมควร แต่อาจทำงานให้ได้ไม่คุ้มกับขนาดองค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน

แต่ถ้าคุณเรียนรู้ถึงเคล็ดลับในการพัฒนาองค์กรให้สำเร็จนั้น คุณก็สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะหาคนเข้ามาแบ่งเบาภาระจุดนี้ของคุณหลังจากที่องค์กรเติบโตมากขึ้นไปกว่าจุดที่คุณอยู่ ดังนั้น วันนี้เราจะขอนำเสนอเคล็ดลับความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรบางข้อ ที่คุณสามารถนำเอาไปปฏิบัติได้ทันที

พัฒนาจากเล็กไปใหญ่

“เล็กๆไม่ ใหญ่ๆทำ”

อาจฟังดูเป็นสโลแกนโฆษณาที่ เท่ ติดหู แต่ไม่ดีแน่ๆถ้าเอามาใช้งานจริง เพราะจู่ๆคุณจะเปลี่ยนทั้งบริษัทอย่างทันใดนั้นเป็นไปได้ยาก เหมือนคุณต้องการจะเปลี่ยนประเทศแต่ไม่ลงมาสนับสนุนในระดับครอบครัวก่อน

ดังนั้น เพื่อให้ได้ผล การพัฒนาองค์กรนั้นควรจะเริ่มจากหน่วยย่อยๆอย่าง ทีม หรือ แผนก เสียก่อน โดยคุณอาจจะนำเอาแผนกใดแผนกหนึ่งที่คิดว่า เหมาะสม สมแก่การจะเริ่มการเปลี่ยนแปลง มาเป็น แผนกนำร่อง หรือ Pilot Team เสียก่อน เมื่อเริ่มเห็นผล จึงขยายไปในแผนกอันดับรองๆต่อไป โดยที่ยังอ้างอิงกับ ค่านิยมหลัก (Core Values) ของบริษัท

สร้างความไว้ใจซึ่งกันและกันในองค์กร

การเปลี่ยนแปลง การพัฒนา จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าพนักงานไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่วางใจหัวหน้า ไม่วางใจนายจ้าง ไม่วางใจบริษัท เพราะ เมื่อพนักงานไม่วางใจ ก็จะไม่ทำตามแบบแผนที่คุณวางเอาไว้ รวมไปถึง ไม่ทุ่มเทความพยายามทั้งหมดที่ควรจะทำ นำไปสู่ความล้มเหลวในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในที่สุด

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่คุณต้องทำ คือการดำเนินกิจกรรม team building อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสนับสนุนต่างๆในช่วงเวลาที่ทำงานด้วย เพื่อสร้างความไว้ใจกันให้มากที่สุด

พนักงานทุกคนต้องมีส่วนร่วม มากกว่าจะแข่งขันกันเอง

การแข่งขันกันนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยกันในการสร้างตัวเลขให้ดูดี แต่ก็มักจะนำมาซึ่งอารมณ์ในทางลบ รวมไปถึงการขาดความไว้ใจกัน ดังนั้น บริษัทที่อยู่ใน phase ของการพัฒนาเพื่อพลิกโฉมนั้น จำเป็นที่จะต้องสร้างความร่วมมือ การมีส่วนร่วมของพนักงานต่างๆ ให้มากที่สุด

Happily.ai and Recognitions in the Workplace

ซึ่งสามารถทำได้ ด้วยการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี จัดหน้าที่ให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในภาพรวม สร้างระบบการชื่นชมซึ่งกันและกัน (Recognition) เป็นต้น

รับฟัง Feedback จากพนักงานอย่างจริงจัง และนำไปใช้จริง

“พ่อแม่พี่น้อง ทุกเสียงของประชาชนนั้นมีค่า”

อ่านแล้วคุณอาจจะรู้สึกเหมือนอยู่ที่เวทีหาเสียงก่อน เลือกตั้ง แต่ในบริบทของบริษัทนั้น เป็นสิ่งที่จริงแท้แน่นอน และหลายบริษัทนั้นล้มเหลวเพราะไม่ได้ฟังเสียงของพนักงานอย่างแท้จริงว่า ต้องการอะไร มีอะไรที่ไม่ดีอยากแก้ และทำไมถึงจำเป็นต้องแก้ไขโดยด่วน

ร่วมไปถึงการที่ พนักงานสามารถให้ Feedback กันเองว่า ที่ทำงานไปอันไหนดี อันไหนไม่ดี

หลายบริษัท มักจะมุ่งเน้นให้พนักงานก้มหน้าก้มตาทำงานโดยเน้นให้คุ้มค่าจ้าง ทั้งๆที่ที่ทำไปนั้น กลับกลายเป็น “กำไรคือขาดทุน” เพราะ ไม่ได้เกิดการพัฒนาใดๆเลย ทำงานกันไปเหมือนหุ่นยนต์ รู้ว่าต้องแก้ก็ไม่กล้าพูดเพราะกลัวโดนด่าหรือโดนไล่ออก (เรียกว่าถูกเซ็ตไว้แย่กว่าหุ่นเสียอีก เพราะหุ่นยนต์นั้นยังมีการอัพเฟิร์มแวร์อยู่เรื่อยๆ) ดังนั้น การสนับสนุนด้านการให้ Feedback ทั้ง ให้กันและกัน ให้กับหัวหน้า ให้กับบริษัท จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินถึงความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า ก้าวไกล

ด้วยระบบการเสริมสร้างวัฒนธรรมการให้ Feedback ของ Happily.ai พร้อมกับ interface ที่เป็นมิตร จะช่วยให้คุณ ทลายกำแพงของการให้ Feedback เสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งการวิพากย์ เพิ่มเติมความเชื่อมั่นเชื่อใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาองค์กร

แต่ถ้าคุณยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยคุณได้จริงไหม ลองลงทะเบียนเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและทดลองใช้ฟรีได้เลย:

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!