17 ตัวเลขทางสถิติของการรักษาพนักงานหรือ Employee Retention ที่ต้องให้ความสำคัญในปี 2022

การรักษาพนักงานหรือ Employee Retention กลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทีมบริหารและ HR ในช่วงเหตุการณ์ Great Resignation ด้วยอัตราการลาออกที่เพิ่มมากขึ้น หลายบริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากการสูญเสีย Talent และมี Productivity ที่ลดลง อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคคลเพิ่มมากขึ้นด้วย
17 ตัวเลขทางสถิติของการรักษาพนักงานหรือ Employee Retention ที่ต้องให้ความสำคัญในปี 2022
Photo by Chris Benson / Unsplash

การรักษาพนักงานหรือ Employee Retention กลายเป็นเรื่องสำคัญอันดับ 1 ขึ้นมาอย่างรวดเร็วสำหรับทีมบริหารและ HR ในช่วงเหตุการณ์การลาออกระลอกใหญ่หรือ Great Resignation ด้วยอัตราการลาออกที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายบริษัทมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากการสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถและมี Productivity ที่ลดลง อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการสรรหาบุคคลเพิ่มมากขึ้น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย (ทดลองใช้เครื่องคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการลาออกของเรา) เรารวบรวมสถิติที่เปิดเผยถึงอัตราการรักษาและการลาออกของพนักงานเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเรื่องบุคคลได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

และนี่คือ 17 ตัวเลขทางสถิติของ Employee Retention ที่ต้องให้ความสำคัญในปี 2022

  1. Employee retention ถูกจัดอันดับให้เป็นสิ่งที่สำคัญลำดับต้น ๆ โดยในปี 2022 ผู้นำทีม HR 87% ให้เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องโฟกัสในปีสองปีที่จะมาถึงนี้
  2. 1 ใน 3 ของพนักงานลาออกจากงานภายใน 6 เดือนแรกของการทำงาน
  3. การมีโปรแกรมการ Onboarding ที่ดีมีแนวโน้มที่จะเพิ่มอัตราการรักษาพนักงานได้สูงถึง 82%
  4. พนักงานที่ทำงานกับผู้จัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพมีแนวโน้มถึง 4 เท่าที่จะเปลี่ยนงาน
  5. ค่าใช้จ่ายในการทดแทนตำแหน่งพนักงานที่ลาออกไปสูงได้ถึง 213% ของค่าจ้างประจำปีของพนักงานคนนั้น
  6. 27% ของพนักงานที่ออกจากองค์กรเป็นเพราะพวกเขารู้สึกไม่มีคุณค่าหรือไม่ได้รับการชื่นชมและขอบคุณอย่างเพียงพอในการทำงานของพวกเขา
  7. เพียง 39% ของพนักงานได้รับการยอมรับชื่นชมในการทำงานในช่วง 3 เดือนก่อนออกจากงานครั้งสุดท้าย

ปัญหาที่พบทั่วไป: พนักงานที่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าและไม่ได้รับการสนับสนุนในที่ทำงานมีแนวโน้มสูงที่จะลาออก ตัวเลขทางสถิติที่กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้เป็นสิ่งช่วยยืนยันได้ และบ่อยครั้งที่เป็นสัญญาณของวัฒนธรรมองค์กรที่ออกแบบมาไม่ดีพอ นั่นคือมีผู้จัดการที่ไม่กระตือรือร้นและพนักงานที่ไม่มีความสุข

ในทางกลับกัน:

8. พนักงานที่ผู้จัดการรับทราบและเห็นถึงผลงานที่ดีของพวกเขามีแนวโน้มที่จะยังทำงานอยู่ต่อในบริษัทมากกว่า 5 เท่า

นอกจากนี้ความสำคัญในการริเริ่มและส่งเสริมโปรแกรมการพัฒนาพนักงานนั้นไม่อาจมองข้ามได้  และมีเหตุผลดังนี้

9. 40 % ของพนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาของการทำงานออกจากงานภายใน 1 ปี

10. บริษัทที่จัดการฝึกอบรมที่ครอบคลุมเนื้อหาของงานสร้างรายได้ถึง 218% ต่อรายได้ของพนักงานหนึ่งคน

11. 70% ของพนักงานกล่าวว่าพวกเขาจะเปลี่ยนไปทำงานกับบริษัทที่ลงทุนเงินในการฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน

12. 73% ของพนักงานจะอยู่ต่อกับบริษัทหากมีโอกาสสร้างทักษะมากขึ้น

💡
Happily ช่วยบริษัทประกันภัยระดับโลกในการสร้างวัฒนธรรมการให้และรับ Feedback และวัฒนธรรมการชื่นชมและขอบคุณกันหรือ Recognitionในองค์กรที่มีอัตราการเข้าร่วมถึง 92% ได้อย่างไร!

ทีม HR บริษัทประกันภัยระดับโลกกำลังมองหาวิธีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและเพิ่ม Employee Engagement โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการกับพนักงานในบางหน่วยธุรกิจในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อน โดยมีจุดมุ่งหมายคือริเริ่มการเข้าร่วมและทำกิจกรรมสำหรับพนักงานที่เมื่อก่อนพนักงานไม่เข้าร่วมและให้ความร่วมมือในกิจกรรม

หลังจากใช้งาน Happily เป็นระยะเวลา 6 เดือน ได้ผลลัพธ์ดังนี้
a) ความสุขของพนักงานในภาพรวมของทั้งบริษัทเพิ่มขึ้น 22% หลังการใช้งานไป 6 เดือน
b) คะแนนความสำเร็จในด้าน Wellness หรือความผ่อนคลายในการทำงานเพิ่มขึ้นจาก 43% เป็น 63% ส่งผลให้อัตราการขาดงานลดลง 18%!
c) พนักงานถึง 94% เพิ่มการพูดคุยกับผู้จัดการหรือหัวหน้างานตนเองผ่านแอปพลิเคชัน
d) คะแนนความสำเร็จในด้าน Recognition เพิ่มขึ้นจาก 35% เป็น 78% โดยมีอัตราของผู้เข้าร่วม Peer-to-Peer Recogniton สูงถึง 92% และผู้จัดการถึง 80% ได้ชื่นชมและขอบคุณทีมทำงาน

องค์กรจะเพิ่มอัตราการรักษาพนักงานได้อย่างไร? มีข้อพิสูจน์ที่น่าสนใจตามตัวเลขทางสถิติดังนี้:

13. 77% ขององค์กรมุ่งเน้นเรื่องประสบการณ์ของพนักงานเพื่อเพิ่มอัตราการรักษาพนักงาน

ตัวอย่าง - องค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องประสบการณ์และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมีอัตราการรักษาพนักงานที่สูงขึ้น ทำไมน่ะเหรอ? ก็เพราะการโฟกัสของพวกเขาในเรื่อง Engagement ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า ได้รับการรับฟัง และไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายขององค์กรมากยิ่งขึ้น

14. 70% ของพนักงานที่มีความรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับองค์กรสูงเมื่อพวกเขามีผู้จัดการที่มีการทำงานเชิงรุก
ผู้จัดการที่มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นกับงานประจำวันที่เป็นทั้งผู้ฝึกอบรมและสอนงานให้กับลูกทีม และกระตือรือร้นที่จะให้ Feedback ที่สร้างสรรค์และให้การชื่นชมยอมรับพนักงาน สามารถกำหนดบรรยากาศของวัฒนธรรมการทำงานในเชิงบวกได้ ด้วยเหตุนี้ การดำเนินการนี้อาจส่งผลกระทบอย่างมาก - เนื่องจากพนักงาน 70% มีส่วนร่วมและมีความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภาพและประสิทธิภาพการทำงานดียิ่งขึ้น

15. Feedback พัฒนาอัตราการรักษาพนักงาน โดยนายจ้างที่มีการขอ Feedback พนักงานบ่อย ๆ และดำเนินการตาม Feedback ที่ได้รับจะมีโอกาสถึงสี่เท่าในการรักษาพนักงานขององค์กร

16. 66% ของพนักงานที่มีความผูกพันกับองค์กรสูง ๆ กล่าวว่าพวกเขาไม่มีแผนการที่จะเปลี่ยนงาน ในขณะที่เพียง 3% เท่านั้นที่กำลังมองหางานใหม่อยู่

17. ความสุขที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของ Productivity อย่างน้อย 12%

สิ่งนี้เน้นย้ำถึงประเด็นที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ และตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งคือบริษัท Google ที่เริ่มให้ความสำคัญเรื่องความสุขของพนักงานด้วยการส่งเสริม Employee Engagement และผลที่ได้คือความพึงพอใจของพนักงานสูงขึ้นถึง 37%

สิ่งสำคัญ: พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรจะอยู่กับองค์กรได้นานขึ้น องค์กรที่ประสบปัญหาการลาออกของพนักงานจำนวนมากอาจต้องคิดทบทวนอีกรอบว่าจะทำให้พนักงาน Engaged กับองค์กรให้มากที่สุดได้อย่างไร เพื่อพัฒนาอัตราการรักษาพนักงานให้ดียิ่งขึ้น

บทสรุป

โดยรวมแล้ว ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของพนักงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การรักษาพนักงานนั้นไม่ได้ถูกพูดถึงกันมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องการวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพสูงและมีประสิทธิผล ผลกระทบจากการสร้างวัฒนธรรมการมี Engagement สูงนั้นมีค่าเกินกว่าที่จะมองข้ามไป  และบางส่วนรวมไปถึง :

  • ความพึงพอใจและความสุขของพนักงานที่เพิ่มขึ้น
  • Productivity ของพนักงานที่สูงขึ้น
  • อัตรา  Employee Retention ที่สูงขึ้น
  • ค่าใช้จ่ายเรื่องการสรรหาบุคลากรลดน้อยลง
  • ความสัมพันธ์ในที่ทำงานที่ดีขึ้น
  • มีความสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันระหว่างพนักงานและองค์กรที่ดีขึ้น

Happily.ai เป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมทุกอย่างเกี่ยวกับประสบการณ์ของพนักงานที่ส่งเสริมวัฒนธรรมเชิงบวกในที่ทำงาน องค์กรใช้ Happily เพื่อช่วยการ Check-in รายวันกับพนักงาน ช่วยสร้างบทสนทนาที่ดีขึ้น ช่วยพัฒนาเหล่าผู้จัดการขององค์กร และช่วยส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมเชิงบวกให้มากขึ้น เรายังนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเรื่องความสุขและ Well-being ของพนักงานแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจทีมและคนของคุณให้ดียิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์เราหรือลงทะเบียนเพื่อรับฟังการ Demo และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการ Engage กับพนักงานของคุณ!

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!