เมื่อหัวใจขององค์กรคือ “คนทำงาน” และ “ความสุข” ของพนักงาน คือจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในธุรกิจ การดำเนินนโยบายขององค์กรจึงต้องควบคู่ไปกับการสร้างองค์กรแห่งความสุข ซึ่งเป็นที่มาของแอปพลิเคชัน Happily.ai เครื่องมือช่วยสร้าง Engagement ระหว่างพนักงานกับองค์กร โดยเกิดจากแนวคิดสุดสร้างสรรค์ของทายาทรุ่นที่ 5 แห่งสยามวาลา “ทรีฟ แจเฟอรี่” หนุ่มไฟแรงที่เลือกเส้นทางเดินตัวเองสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพ เพราะเขาเชื่อมั่น “คน” เฟืองจักรชิ้นเล็กๆ นี้ สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการเติบโตของบริษัทได้
Tareef Jafferi, CEO and Founder of Happily.ai

“คน” ทรัพยากรมีค่าที่สุดในองค์กร

ทรีฟ แจเฟอรี่ สยามวาลา ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Happily.ai เล่าย้อนไปเมื่อครั้งเรียนที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT สหรัฐอเมริกา เขาศึกษาด้าน People Analytics และสนุกกับการเรียนรู้กระบวนวิชาที่เชื่อมโยงหลายอย่างเข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะ Human Psychology บวกกับทักษะด้านดีไซน์ จึงนำไปสู่แนวคิดริเริ่มการใช้พลังแห่ง People Science นำไปสู่การพัฒนาแอปพลิเคชัน Happily.ai เครื่องมือสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานกับองค์กรที่เข้ามาช่วยสร้างสมดุลระหว่างการทำงานอย่างมีคุณภาพ และความสุขของพนักงาน

“จากงานวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์และ Productivity ของพนักงานมากกว่าทศวรรษบอกว่า ความสุขของพนักงานสำคัญมากๆ และมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความสำเร็จขององค์กร ผมก็เคยเป็นพนักงาน ทำงานกับกูเกิลที่แคลิฟอร์เนียมาก่อน เลยทำให้เข้าใจดีว่าการสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมไม่ใช่แค่พื้นที่ทำงาน แต่คือการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีของคนในองค์กร สิ่งเหล่านี้มันสามารถเพิ่มศักยภาพการทำงานให้ดีขึ้นเป็น 10 เท่า

เมื่อการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ได้วัดที่ค่าชี้วัดทางการเติบโตเพียงด้านเดียว แต่ยังมองไปถึงความท้าทายในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับบริษัท ซึ่งตัวแปรสำคัญในการพัฒนา สิ่งเหล่านี้ก็คือ “คน” และการดึงศักยภาพของคนทำงานออกมาให้ได้ ย่อมตามมาด้วยความกดดัน ดังนั้น องค์กรจึงไม่สามารถละเลยการสร้างความสุขของพนักงาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับองค์กรให้ยั่งยืน


Happily.ai เครื่องมือสร้างสุข

ทรีฟ อธิบายต่อว่า กระบวนการทำงานของ Happily.ai จะมุ่งทำให้หัวหน้าและทีมเข้าใจกันยิ่งขึ้นผ่าน People Science โดย นำผลการวิจัยจาก MIT, Harvard, Wharton และ Google re:Work มาใช้เป็นแกนหลัก เพื่อช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่มีความหมายให้กับพนักงานและช่วยพัฒนาความเป็นผู้นำให้กับหัวหน้างาน

Happily.ai interface
Happily.ai Basic Interface

Happily.ai ได้เปลี่ยนรูปแบบการประเมินผลจากแบบสอบถามแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นเครื่องมือสนุกๆ ที่จะช่วยเช็กอุณหภูมิของความสุข และเช็กความเสี่ยงของพนักงานที่มีแนวโน้มจะลาออก ทั้งยังสอดแทรกประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจในที่ทำงาน รวมถึงการวิเคราะห์กลุ่ม Talent ของคนในองค์กร จากนั้นจะแสดงผลและส่งรายงานด้วยข้อมูลที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และสม่ำเสมอ ผ่านอีเมลแบบเรียลไทม์ถึงหัวหน้าทีม หรือคนที่อยู่ในจุดที่ให้คำแนะนำและแก้ปัญหาในทีมได้ดีที่สุด

“จุดประสงค์ที่เราดีไซน์เครื่องมือนี้ออกมาเพราะเราอยากให้องค์กรเข้าใจพนักงานจริงๆ และเพื่อทำให้รู้สึกว่าเขามีคุณค่า มีพาวเวอร์ที่จะให้ฟีดแบคกับองค์กรได้โดยตรง โดยเราจะส่งคำถามหลากหลายง่ายๆ ทุกวัน ใช้เวลาน้อยและสนุก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มาจากพนักงานจริงๆ ทำให้หัวหน้าทีมมีเครื่องมือบริหารจัดการทีมได้ เป็นตัวช่วยให้เกิดการสื่อสาร และแก้ปัญหาได้ตรงจุด”

ผู้บริหารหนุ่มเล่าถึงสถานการณ์ของคนทำงานเพิ่มเติมว่า หลายครั้งที่ปัญหาเกิดจากจุดเล็กๆ แต่สะสมทุกวันจนเกิดปัญหาใหญ่และนำไปสู่การลาออกในที่สุด ดังนั้น เมื่อผู้จัดการทีม HR และผู้บริหารได้รับการรายงานข้อมูลเชิงลึกส่งตรงแบบวันต่อวัน ก็จะช่วยให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที เพราะข้อมูลที่ได้นั้นจะช่วยวิเคราะห์ให้เห็นความสอดคล้องหรือความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมส่วนตัว การเข้าสังคมในที่ทำงาน และผลลัพธ์จากการทำงานของคนๆ นั้นได้อย่างชัดเจน

Happily.ai มีข้อดีอย่างไร?

ข้อดีของ Happily.ai ยังอยู่ที่การออกแบบด้วยความเข้าใจพฤติกรรมของคนทำงานอย่างลึกซึ้ง ทรีฟ กล่าวต่อว่า ในเมื่อวิธีการทำแบบสอบถามประจำปีแบบเดิมๆ ไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนการทำ Engagement ให้สนุก น่าสนใจมากขึ้น ได้ผลจริง และทำได้ทุกวัน ผ่านรูปแบบการเล่นเกม ทุกครั้งที่ตอบคำถามพนักงานจะได้รับสะสมเหรียญเพื่อนำไป Redeem แลกรับรางวัลต่างๆ รวมถึงแลกวันหยุดของออฟฟิศ หรือขอกลับก่อนเวลาก็ยังได้

เขายกตัวอย่าง ฟีเจอร์ Power-ups ส่งเหรียญให้กันเพื่อชื่นชมเพื่อนร่วมงาน การสร้างคลาสเพื่อแลกเปลี่ยนสกิล และความรู้ในองค์กร การสร้าง Quiz สั้นๆ สำหรับเรียนรู้สไตล์การทำงานของเพื่อนร่วมงานผ่าน “บ้านคัดสรร”

บ้านไหนนะที่เหมาะสมกับคนๆ นั้น รวมถึงเรื่องภายนอกที่ทำงาน อย่างการส่งเสริมให้พนักงานมีไลฟ์สไตล์สุขภาพดีด้วยการแข่งขันนับระยะการเดินหรือวิ่ง (Running Track) เป็นต้น

มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน

ถึงแม้ว่า Happily.ai จะได้รับการพัฒนาและดำเนินการมาเพียง 2 ปีก็ตาม (ณ เวลาที่บทความนี้ถูกเขียนขึ้น, ทีมงาน Happily Blog) แต่ก็มีพาร์ทเนอร์องค์กรระดับประเทศ เอสเอ็มอี และกลุ่มสตาร์ทอัพที่มีชื่อเสียงให้ความสนใจเป็นลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งองค์กรเหล่านั้นมีความเห็นตรงกันและมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือความเชื่อที่ว่าทรัพยากรมนุษย์สำคัญที่สุด การดูแลพนักงานให้มีความสุขจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

“ผมเป็นสตาร์ทอัพที่ไม่ได้เน้นขายสักเท่าไร แต่ผมเป็น Product Designer ที่เข้าหาลูกค้าเพราะอยากเข้าไปเรียนรู้ว่าเราสามารถช่วยอะไรเขาได้บ้าง เราอยากเข้าใจ Challenge ของเขา ซึ่งเราสามารถนำปัญหาและไอเดียใหม่ๆ จากลูกค้ามาปรับปรุงโซลูชันและฟีเจอร์ต่างๆ ของเราให้ดีขึ้นได้ ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าเครื่องมือนี้เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทยยิ่งเรานำเสนอว่าเป็นเกม ลูกค้าอาจไม่เข้าใจว่าวิธีนี้จะได้ประโยชน์อย่างไร เราจึงต้องสื่อสารและอธิบายถึงคุณค่าที่ทุกคนจะได้รับให้มากขึ้น”

ผู้บริหารหนุ่มแห่ง Happily.ai เล่าต่อว่า ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจเขาโฟกัสที่การขยายธุรกิจในประเทศไทยเป็นอันดับแรก แต่หลังจากสั่งสมประสบการณ์มาสักพักใหญ่ บวกกับข้อมูลสถิติ และเสียงสะท้อนจากลูกค้า ซึ่งเขายกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด เดิมทีค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างพนักงานใหม่และค่าเทรนนิ่งของบริษัทแห่งหนึ่งเคยอยู่ในระดับสูงถึงกว่า 6 ล้านบาทต่อปี แต่หลังใช้เครื่องมือนี้ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง ขณะเดียวกันยังเกิดผลเชิงบวกในส่วนของความเป็นทีมเวิร์คที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยพนักงานหลาย Gen ในบริษัทนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เขาจึงมั่นใจว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดระดับโกลบอลได้ โดยผ่านรูปแบบการทำตลาดแบบออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึง Happily.ai ได้ง่ายที่สุด

ล่าสุดเขาได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ Happily Sparks™ คลังที่จะคอยเก็บเล็กผสมน้อยเพื่อแชร์ข้อมูลความรู้ สร้างแรงบันดาลใจให้คนทำงาน และยังคอยส่งคำแนะนำที่เหมาะสมให้กับแต่ละคน โดยอิงจากปัญหาและความท้าทายที่พวกเขากำลังเจอในการทำงาน เพื่อเปลี่ยน Mindset และเขายังออกตัวว่ายังจะมีฟีเจอร์ใหม่เพื่อสร้างสุขให้กับคนทำงานตามมาอีกเพียบ

Happy Work, Happy Life

ทายาทรุ่นที่ 5 แห่งตระกูลสยามวาลา กล่าวว่า ทุกวันนี้เขายังคงสนุกและทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับงานนี้ เลยออกตัวว่าเขาอาจไม่มี Life Balance ที่ดีสักเท่าไร แม้จะชอบอ่านหนังสือแต่ก็เพื่อนำมาปรับใช้กับการดีไซน์ Happily.ai ให้ดีขึ้น เหมือนชีวิตของเขาทำงานอยู่ตลอดเวลา หลายๆ ครั้ง พื้นที่เล็กๆ บนโต๊ะอาหาร ก็ทำให้เขาสร้างโอกาสเรียนรู้การทำงานจากครอบครัว ซึ่งเป็นผู้บริหารของสยามวาลา ทั้งในด้านของการเปิดโลกทัศน์ใหม่ แนวคิด ข้อคิดต่างๆ ประสบการณ์การทำงาน

เขาเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาในอดีต ซึ่งเคยพัฒนา Product Technology ให้กับสยามวาลา แต่เมื่อเขาต้องการสร้างสรรค์ธุรกิจของตัวเอง ครอบครัวก็พร้อมสนับสนุนและให้โจทย์เพียงว่า “ทำในสิ่งที่มีคุณค่า”

และก่อนที่ทรีฟจะเดินทางกลับไปเพลิดเพลินกับงานที่เขารัก ซีอีโอหนุ่ม ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า“สังคมการทำงานที่มีความสุขไม่ใช่แค่เรื่องเฉพาะบุคคลเท่านั้น แต่เมื่อทุกคนในองค์กรตระหนักในคุณค่าและเห็นความสำคัญของกันและกัน นั่นแหละคือความสุขที่แท้จริงของคนทำงาน”

ร่วมทดลองใช้งาน Happily.ai ฟรี

การใช้งาน Happily.ai โดยพนักงานของบริษัท

หลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบแล้ว คุณเริ่มมีความรู้สึกว่า Happily.ai จะช่วยนำพาองค์กรคุณไปในทิศทางที่ต้องการให้เป็น คุณสามารถลงทะเบียนเพื่อขอทดลองใช้งานใน Live Demo Session พร้อมปรึกษาหารือกับทีมงานของเรา เพื่อที่จะนำเอา Happily.ai เข้าไปใช้ในสถานการณ์จริง ในแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

คุณสามารถทำได้โดยง่าย เพียงลงทะเบียนจากแบบฟอร์มด้านล่างของเรา แล้วทีมงานของเราจะติดต่อกลับไปในเวลาที่เร็วที่สุด ลงทะเบียนเลย:

บทความต้นฉบับโดย Tisco Wealth นิตยสาร Trust ฉบับที่ 50 | คอลัมน์ New Generation

Share this post