แนวทางการปฏิบัติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จ

ในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำต้องมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
แนวทางการปฏิบัติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จ
Photo by Ethan Sykes / Unsplash

วัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรคือระเบียบทางสังคมขององค์กร หรืออาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมกำหนดทัศนคติและพฤติกรรมในวงกว้างและคงอยู่ในองค์กร บรรทัดฐานทางวัฒนธรรมบอกว่าอะไรที่สนับสนุน ไม่สนับสนุน ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ในกลุ่ม และเมื่อสอดคล้องกับค่านิยมส่วนบุคคล แรงผลักดัน และความต้องการแล้วนั้น วัฒนธรรมจะมีพลังมากมายเพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันและส่งเสริมความสามารถในการเติบโตขององค์กร

เมื่อกล่าวถึงบทบาทของคนที่รับผิดชอบเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ผู้คนอาจคิดถึงแผนกทรัพยากรบุคคลในองค์กร หรือแผนกที่ดูแลเรื่องกลยุทธ์หรือแผนงานขององค์กร หรืออาจจะมีแผนกที่ดูแลเรื่องวัฒนธรรมองค์กรโดยเฉพาะ แต่จริง ๆ แล้ว คนที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างและขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรนั้นคือ “ผู้นำ” ตัวอย่างเช่นบริษัทชั้นนำอย่าง Netflix เองก็บอกว่า “งานของผู้นำคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กร”

ผู้นำและวัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรและผู้นำนั้นมีความเชื่อมโยงที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ ผู้ก่อตั้งองค์กรและผู้นำที่มีอิทธิพลในองค์กรมักจะสร้างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ผ่านการแสดงออกและค่านิยมที่กำหนดขึ้นไว้และสมมติฐานนี้มีมานานเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปผู้นำองค์กรสามารถกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรผ่านการกระทำทั้งแบบที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ผู้นำที่ดีที่สุดนั้นตระหนักถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ฝังตัวอยู่ในองค์กร ผู้นำสามารถรู้สึกสัมผัสได้เมื่อต้องการการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรและสามารถโน้มน้าวการดำเนินการในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเชี่ยวชาญ

ขั้นตอนแรกและขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำดำเนินการเกี่ยวกับวัฒนธรรมในองค์กรก็คือ ผู้นำรู้ว่าวัฒนธรรมสร้างความสำเร็จให้องค์กรได้อย่างไร นั่นก็คือรู้ว่าเพิ่มมูลค่าสูงสุดและลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดได้อย่างไร และจากบทความของ Havard Business Review เรื่อง The Leader’s Guide to Corporate Culture ได้แนะนำ Framework ที่รวบรวมผลการวิจัยจากแบบจำลองทางสังคมและพฤติกรรมที่ใช้บ่อยที่สุดมากกว่า 100 แบบ และท้ายที่สุดได้ระบุ 8 รูปแบบที่แยกแยะความแตกต่างของวัฒนธรรมและสามารถวัดได้ ได้แก่ ความห่วงใยใส่ใจ (Caring), เป้าหมาย (Purpose), การเรียนรู้ (Learning), ความสนุกสนาน (Enjoyment), ผลลัพธ์ (Results), อำนาจหน้าที่ (Authority), ความปลอดภัย (Safety), และ คำสั่ง (Order) โดยทั้ง 8 รูปแบบนี้พิจารณาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันของคนในองค์กรและการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และจากผลการสำรวจพบว่าองค์กรส่วนใหญ่มีรูปแบบ ความห่วงใย (Caring) และผลลัพธ์ (Results) มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนในองค์กรที่อยู่รวมกันจะมีความห่วงใยใส่ใจกัน และมีการทำงานที่มีเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์นั่นเอง นอกจากนั้นในบทความนี้ยังได้แนะนำวิธีที่วัฒนธรรมสามารถช่วยให้ผู้นำประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงองค์กรและสร้างองค์กรให้เติบโตได้แม้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดอีกด้วย

แนวทางการปฏิบัติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จ

ในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำต้องมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ Boris Groysberg, Jeremiah Lee, Jesse Price, และ J. Yo-Jud Cheng ได้แนะนำแนวทางการปฏิบัติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จ 4 แนวทาง ดังนี้

  1. สื่อสารปณิธานในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอย่างชัดเจน
    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเรื่องใดเรื่องหนึ่งในองค์กร และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมก็ต้องการการสื่อสารต่อคนในองค์กรให้ชัดเจน โดยผู้นำสามารถสื่อสารสิ่งที่ตั้งใจหรือเป้าหมายที่ต้องการจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้มองเห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน และมีความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมนี้ส่งผลอย่างไรบ้างต่อพวกเขาและต่อตัวองค์กรเอง
  2. เลือกและพัฒนาผู้นำที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเป้าหมาย
    ที่ได้เน้นย้ำมาตลอดว่าผู้นำมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพราะผู้นำทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงโดยสนับสนุนในทุกระดับและสามารถสร้างบรรยากาศที่ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยได้ และสิ่งที่ Edgar Schein เรียกว่า "สนามฝึกหัด" เป็นโมเดลที่ผู้ลงสมัครควรได้รับการประเมินว่าสอดคล้องกับเป้าหมายหรือไม่ และโมเดลเดียวนี้สามารถประเมินทั้งวัฒนธรรมองค์กรและรูปแบบความเป็นผู้นำของแต่ละบุคคลได้
  3. ใช้การสนทนาภายในองค์กรที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
    ในการเปลี่ยนบรรทัดฐานความเชื่อ และความเข้าใจภายในองค์กร เพื่อนร่วมงานสามารถพูดคุยกันผ่านการเปลี่ยนแปลงได้ โดยที่ Framework วัฒนธรรมแบบผสมผสานกัน (บูรณาการ) สามารถนำมาใช้หารือเรื่องรูปแบบวัฒนธรรมในปัจจุบันและวัฒนธรรมที่ต้องการ ตลอดจนความแตกต่างในการดำเนินงานของผู้นำระดับสูง เมื่อพนักงานเริ่มตระหนักว่าผู้นำของพวกเขากำลังพูดถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจใหม่ เช่น พูดเรื่องนวัตกรรมแทนเรื่องรายรับรายไตรมาส พนักงานจะเริ่มประพฤติตัวแตกต่างไปจากเดิม นั่นก็คือมีการให้และรับฟีดแบ็กเชิงบวกเกิดขึ้นในองค์กรเพื่อทำให้เกิดนวัตกรรมนั่นเอง
  4. ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการผ่านการออกแบบองค์กร
    เมื่อโครงสร้าง ระบบ และกระบวนการของบริษัทสอดคล้องกันและสนับสนุนวัฒนธรรมและกลยุทธ์ที่ตั้งใจจะทำ การกระตุ้นรูปแบบและพฤติกรรมวัฒนธรรมใหม่ ๆ จะง่ายขึ้นมาก ตัวอย่างเช่น สามารถใช้การจัดการประสิทธิภาพการทำงานเพื่อส่งเสริมให้พนักงานเข้าใจและปฏิบัติได้ตามคุณลักษณะทางวัฒนธรรมที่ต้องการ โดยการฝึกปฏิบัติพนักงานนี้สามารถเสริมสร้างวัฒนธรรมเป้าหมาย เมื่อองค์กรเติบโตและเพิ่มคนใหม่ ๆ เข้ามาในองค์กร และผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนระดับของลำดับชั้นในโครงสร้างองค์กรเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมที่มีอยู่ในวัฒนธรรมที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น Henry Mintzberg นักวิชาการชั้นนำได้แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างองค์กรและคุณลักษณะการออกแบบอื่น ๆ สามารถมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อผู้คนว่าพวกเขาคิดและประพฤติตนอย่างไรภายในองค์กรเมื่อเวลาผ่านไป

บทสรุป

ในความเป็นจริง ความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานผ่านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร โดยที่ “ผู้นำ” เป็นผู้มีส่วนร่วมหลักในการดำเนินการและเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้การดำเนินการเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยผู้นำต้องตระหนักถึงวัฒนธรรมที่ดำเนินการในองค์กรของตน กำหนดวัฒนธรรมเป้าหมายตามที่ตั้งปณิธานไว้ และมีความเชี่ยวชาญในแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในองค์กร ผู้นำที่ประสบความสำเร็จนั้นจะหยุดเมื่อมีวัฒนธรรมไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ และจะใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือการบริหารขั้นพื้นฐาน

happily.ai

เอกสารอ้างอิง

[1] https://hbr.org/2018/01/the-leaders-guide-to-corporate-culture

[2] https://hbr.org/2014/01/how-netflix-reinvented-hr

[3] Background photo created by creativeart - www.freepik.com

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!