วัฒนธรรมองค์กรและการชื่นชมยอมรับ หัวใจสำคัญสู่ความเป็นอยู่ที่ดีหรือ Well-being ของพนักงาน

การศึกษาข้อมูลของเราพบว่า ความรู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรหรือ Culture Fit และความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงานส่งเสริม Well-being ของพนักงาน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Culture Fit
วัฒนธรรมองค์กรและการชื่นชมยอมรับ หัวใจสำคัญสู่ความเป็นอยู่ที่ดีหรือ Well-being ของพนักงาน

การศึกษาข้อมูลของเราพบว่า ความรู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรหรือ Culture Fit และความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงานส่งเสริม Well-being ของพนักงาน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Culture Fit

Well-being ในที่ทำงาน ท่ามกลางวิกฤติการณ์โรคระบาด COVID-19

การสนับสนุนและใส่ใจ Well-Being ของพนักงาน ไม่ว่าจะในรายบุคคลหรือทีม คือสิ่งที่องค์กรจำเป็นต้องทำเพื่อดึงศักยภาพสูงสุดของพนักงานออกมา แต่วิกฤติอย่างสถานการณ์โรคระบาดในตอนนี้ผลักให้ Well-being ของพนักงานร่วงลงไปอยู่ในจุดต่ำสุดอย่างเห็นได้ชัด และกลายเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว

ในปัจจุบัน ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพทางกายและทางด้านจิตใจมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี รายงานแนวโน้มอุตสาหกรรมในเรื่อง Well-being ของพนักงาน ปี 2021 จาก Wellable เผยว่าพนักงานกว่า 88% เริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตใจเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีงานวิจัยจาก Ginger และรายงานข้อมูลวิกฤติการณ์เชิงลึกจาก Glint ที่พบว่าพนักงานจำนวน 80% แสดงออกถึงความสนใจใน “การที่นายจ้างให้การสนับสนุนเรื่องของสุขภาพจิตใจและ Well-being” ซึ่งเป็นผลมาจากการที่พนักงานกว่า 42% ในทั่วทุกมุมโลกกำลังเผชิญกับสภาวะสุขภาพจิตถดถอย นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โรคระบาด

มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตใจในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกปลอดภัยและการสนับสนุนทางจิตใจ (Psychological Safety and Support) วัฒนธรรมขององค์กร การบริหารงานอย่างโปร่งใส ความเคารพ การชื่นชมยอมรับ และความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวหรือ Work-Life Balance สามารถดูปัจจัยทั้งหมดได้ที่ Canadian Center for Occupational Health and Safety

ความสนใจในการเรียนรู้ผลของวัฒนธรรมองค์กรและการชื่นชมยอมรับที่มีต่อสุขภาพจิตใจได้นำเรามาสู่การศึกษาข้อมูลในครั้งนี้

การศึกษาข้อมูลและผลลัพธ์

ข้อสันนิษฐาน: พนักงานที่รู้สึกว่าตนเองเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กรและรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงานจะมีระดับ Well-being ที่ดีกว่าพนักงานที่ไม่มีความรู้สึกนี้เลย

การศึกษาของเรา

เราทำการเก็บข้อมูลความรู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กรกับพนักงาน 521 คน ด้วยคำถาม

คุณรู้สึกว่าตัวเองเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กร? — ใช่/ไม่ใช่

และคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน

ในที่ทำงาน คุณรู้สึกว่าตนเองคุณมีคุณค่า? — ใช่/ไม่ใช่

ผู้เข้าร่วมถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความรู้สึกเกี่ยวกับ Culture fit และความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน

  • กลุ่มที่ 1: พนักงานที่รู้สึกไม่เหมาะและเข้ากันได้ไม่ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กร รวมทั้งยังรู้สึกไม่มีคุณค่าในที่ทำงาน
  • กลุ่มที่ 2: พนักงานที่รู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กร แต่รู้สึกไม่มีคุณค่าในที่ทำงาน
  • กลุ่มที่ 3: พนักงานที่รู้สึกไม่เหมาะและเข้ากันได้ไม่ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กร แต่รู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน
  • กลุ่มที่ 4: พนักงานที่รู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กร และรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน

เราวิเคราะห์คะแนนดัชนี Well-being ขององค์กรอนามัยโลก (ดูเพิ่มที่ WHO-5) ของพนักงานแต่ละกลุ่ม เพื่อดูว่าแต่ละปัจจัยส่งผลอย่างไรต่อ Well-being โดยผลลัพธ์ประกอบไปด้วยคะแนนดัชนี Well-being ของพนักงานแต่ละกลุ่ม ทั้งในแบบค่าเฉลี่ย คะแนนต่ำสุด และคะแนนสูงสุด

ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า:

  • พนักงานในกลุ่มที่ 1 มีคะแนนความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ที่ 49.5 โดยเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน = 50 คะแนนต่ำสุด = 32 และคะแนนสูงสุด = 64)
  • พนักงานในกลุ่มที่ 2 มีคะแนนความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ที่ 60.3 โดยเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน = 60 คะแนนต่ำสุด = 32 และคะแนนสูงสุด = 100)
  • พนักงานในกลุ่มที่ 3 มีคะแนนความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ที่ 51.3 โดยเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน = 56 คะแนนต่ำสุด = 12 และคะแนนสูงสุด = 84)
  • พนักงานในกลุ่มที่ 4 มีคะแนนความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ที่ 64.8 โดยเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน = 68 คะแนนต่ำสุด = 4 และคะแนนสูงสุด = 100)

โดยที่ดัชนีชี้วัดระดับ Well-being ขององค์กรอนามัยโลกหรือ WHO-5 ที่ต่ำกว่า 50 จะถือว่ามีระดับ Well-being อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งผลจากการศึกษาข้อมูลแสดงให้เห็นว่า พนักงานที่รู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรและรู้สึกมีคุณค่าเพียง (พนักงานกลุ่มที่ 4) 17% เท่านั้น ที่มี Well-being ในเกณฑ์ต่ำ แต่ตัวเลขนี้กลับสูงถึง 38% ในกลุ่มพนักงานที่รู้สึกไม่เหมาะและเข้ากันได้ไม่ดีกับวัฒนธรรมองค์กรและรู้สึกไม่มีคุณค่า (พนักงานกลุ่มที่ 1)

คะแนน Well-being โดยเฉลี่ยของพนักงานกลุ่มที่ 2 และ 3 ซึ่งมีค่าอยู่ที่ 60.3 และ 51.3 ตามลำดับ บ่งชี้ว่า ความรู้สึกเหมาะและการเข้าได้ดีกันกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กรหรือ Culture fit ส่งผลต่อ Well-being ของพนักงานมากกว่าความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานที่รู้สึกไม่เหมาะและเข้ากันได้ไม่ดีกับทีมและองค์กร อีกทั้งยังรู้สึกไม่มีคุณค่าในที่ทำงาน (พนักงานกลุ่มที่ 1) มีจำนวนถึงสองเท่าที่มีแนวโน้มมีระดับ Well-being ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานที่ทั้งเข้ากันได้ดีกับทีมและองค์กร และรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน (พนักงานกลุ่มที่ 4)

ในบรรดาปัจจัยทั้งหมดที่ส่งผลต่อ Well-being ของพนักงาน เราค้นพบว่าความรู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมของทีมและองค์กรหรือ Culture fit คือปัจจัยที่สำคัญมากกว่าความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงานเสียอีก โดยเราสามารถระบุความหมายของ “การเข้ากัน” ได้ว่า คือความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่ง (Sense of Belonging) ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยและการสนับสนุนทางจิตใจ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้สำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพจิตที่ดี

well-being free e-book

ผู้นำองค์กรและผู้จัดการสามารถส่งเสริม Well-being ของพนักงานได้อย่างไร

Well-being ของพนักงานคือสิ่งที่ควรได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรก ผู้นำและผู้จัดการมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนา Well-being ภายในที่ทำงาน ซึ่งผู้นำองค์กรควรเดินหน้าให้ความสำคัญกับ Well-being ของพนักงาน และทำให้พวกเขาเห็นผ่านการลงมือทำ

  • แก้ไขนโยบายและแนวทางปฏิบัติ — ปรับเปลี่ยนนโยบายและกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ส่งเสริมให้ผู้จัดการหรือหัวหน้าทีมตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานแต่ละคน และทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพราะอาจมีหลายคนที่กำลังประสบปัญหา แต่ไม่กล้าเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ
  • วัดระดับ Well-being ของพนักงาน — ดังคำกล่าวที่ว่า เราไม่สามารถพัฒนาสิ่งที่เราไม่สามารถวัดค่าได้ ดังนั้นลองทำความเข้าใจอุปสรรคของเรื่องสุขภาพและ Well-being ปัญหาต่างๆ หรือแม้กระทั่งความต้องการทั่วไปของพนักงานเสียก่อน แบบสำรวจคือจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้คุณรู้ว่า พนักงานของคุณกำลังรู้สึกอย่างไร และพวกเขาต้องการอะไร ซึ่งอาจเพิ่มเติมระบบการให้ฟีดแบ็กด้วยในภายหลัง
  • มีความจริงใจและสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ — การสื่อสารคือหัวใจสำคัญของการสร้างความเชื่อใจ รวมทั้งยังช่วยให้พนักงานของคุณรู้สึกผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น ยิ่งในเวลาที่ยากลำบากและไม่แน่นอนเช่นนี้ พนักงานยิ่งต้องการผู้นำที่จริงใจ และสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่พวกเขาจะมั่นใจว่าการทำงานของพวกเขานั้น ยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายและทิศทางขององค์กร

ผู้จัดการหรือหัวหน้าทีมถือเป็นหน้าด่านของการจัดการ Well-being ของสมาชิกภายในทีม พร้อมกันกับการดูแลสุขภาพจิตใจของตนเองไปด้วย (ซึ่งหลายคนมักหลงลืม) สิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้คือ:

  • จัดตารางเวลาเพื่อการพูดคุย — การถามไถ่สารทุกข์สุกดิบสมาชิกในทีมกลายเป็นสิ่งที่ห้ามมองข้ามอีกต่อไป เพราะการทำงานจากที่ใดก็ได้ (Remote Work) ทำให้เราไม่สามารถตรวจจับสัญญาณความเครียดจากเพื่อนร่วมงานได้ง่ายเหมือนก่อน การพูดคุยจึงเปรียบเสมือนโอกาสที่เราจะได้รับฟังไอเดีย แผนงาน รวมถึงความกังวลใจต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนภาระหน้าที่ของพนักงานแต่ละคน และยังเป็นการสร้างความเชื่อใจและความผูกพันที่เหนียวแน่นมากขึ้น
  • ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี — ผู้จัดการหรือหัวหน้าทีมคือแบบอย่างที่ดีของการให้ความสำคัญกับ Well-being เป็นการย้ำเตือนให้พนักงานเห็นว่า พวกเขาก็สามารถให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง รวมถึงกำหนดขอบเขตในการทำงานได้ พนักงานภายในทีมจะปฏิบัติตาม หากหัวหน้าทีมอย่างคุณสร้างวัฒนธรรมที่ Well-being สำคัญกว่าสิ่งอื่นใดและส่งเสริมให้พนักงานมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
  • ให้การชื่นชมยอมรับ — การชื่นชมยอมรับทำให้ผู้คนรู้สึกมีคุณค่า และก่อให้เกิดพฤติกรรมการทำงานที่ดี การเขียนคำขอบคุณ หรือกล่าวชมเพื่อนร่วมงานในที่ประชุมจะช่วยสร้างความเป็นกลุ่มก้อน (Community) ภายในทีม และยังช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมขององค์กรอีกด้วย แม้เราอาจจะรู้สึกเขินอายในช่วงแรกก็ตาม
How leaders and managers can support well-being

บทสรุป

การเอาใจใส่ Well-being ของพนักงานควรเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เพราะที่ทำงานเต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาส ผู้คนที่พร้อมจะร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหา อีกทั้งเป็นพื้นที่ของการเติบโตและความคิดสร้างสรรค์ แต่ถึงอย่างนั้น ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จก็ก่อให้เกิดความเครียด ความอ่อนแอ และแรงกดดัน ซึ่งอาจส่งผลต่อ Well-being ซึ่งการจะเอาชนะปัญหาเหล่านี้ได้ องค์กรจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่พร้อมเอาใจใส่ สนับสนุน และส่งเสริม Well-being ให้กับพนักงาน

ความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิผลหรือ Productivity และประสิทธิภาพในการทำงาน โดยไม่คำนึงถึง Well-being และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน มีแต่จะทำให้เกิดผลเสียตามมา โดยที่ในบรรดาปัจจัยที่ส่งผลต่อ Well-being เราค้นพบว่า ความรู้สึกเหมาะและเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรหรือ Culture fit และความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงานคือหัวใจหลัก อีกทั้งผู้นำและผู้จัดการคือกุญแจสำคัญในการสนับสนุนและดูแลสุขภาพจิตใจภายในที่ทำงาน

Happily.ai ช่วยองค์กรต่างๆ ในการสร้าง Well-being ให้กับพนักงาน โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกทำให้เข้าใจพนักงานและทีมงานมากขึ้น เราช่วยทำให้เกิดบทสนทนาเชิงสร้างสรรค์ และริเริ่มการให้คำชื่นชมยอมรับ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้จัดการหรือหัวหน้าทีมและพนักงานเกิดพฤติกรรมและการกระทำเชิงบวก ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลบุคคลหรือ People analytics เราทำการวัดระดับ Well-being ด้วยดัชนี WHO-5 ควบคู่ไปกับปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรกว่า 80 รายการ หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราเพิ่มเติม ลองเข้ามาหาเราที่นี่

ข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้นำและผู้จัดการ ที่ช่วยให้เข้าใจ Well-being ขององค์กร และช่วยระบุพฤติกรรม Toxic

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

เอกสารอ้างอิง

[1] https://f.hubspotusercontent30.net/hubfs/226537/Resources/2021%20Employee%20Wellness%20Industry%20Trends%20Report.pdf

[2 ] https://www.aihr.com/blog/workplace-wellness-trends/

[3] https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/uk/Documents/consultancy/deloitte-uk-mental-health-and-employers.pdf

[4] https://www.glintinc.com/blog/employee-well-being/

[5] https://hbr.org/2020/08/8-ways-managers-can-support-employees-mental-health

[6] https://www.karger.com/Article/Fulltext/376585

[7] https://www.ccohs.ca/oshanswers/psychosocial/mentalhealth_risk.html[8] https://www.investorsinpeople.com/knowledge/feeling-valued-the-dimensions-organisations-must-deliver-on/

[8] Business photo created by yanalya - www.freepik.com

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!