การใช้ OKRs เพื่อส่งเสริม Engagement และ Performance ของพนักงาน

ค้นพบพลังของ OKRs เพื่อเพิ่ม Employee Engagement และ Performance ของพนักงานในองค์กรของคุณผ่านคู่มือแบบละเอียดและเข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างจริงของ OKRs ในระดับบริษัทและทีมงาน ด้วยการให้ความสำคัญด้านการสื่อสารและ Feedback เพื่อความสำเร็จสูงสุดขององค์กร
การใช้ OKRs เพื่อส่งเสริม Engagement และ Performance ของพนักงาน
Photo by Kolleen Gladden / Unsplash

องค์กรในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการกระตุ้นการมีส่วนร่วม (Employee Engagement) และประสิทธิภาพการทำงาน (Performance) ของพนักงาน แต่อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เป้าหมายและความพยายามของพนักงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายทางธุรกิจโดยรวม ทางออกหนึ่งสำหรับความท้าทายนี้ก็คือการใช้ Objectives and Key Results (OKRs) ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์กการกำหนดเป้าหมายที่บริษัทชั้นนำหลายแห่งนำมาใช้กัน

OKRs คืออะไร?

OKRs หรือ Objectives and Key Results เป็นเฟรมเวิร์กที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ผลการทำงานสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร และยังสามารถติดตามความคืบหน้าของงานที่นำไปสู่วัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง วัดผลได้ และมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน โดยเฟรมเวิร์ก OKRs นี้พัฒนาขึ้นในปี 1970 โดย Andy Grove ผู้ร่วมก่อตั้ง Intel และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา OKRs ได้ถูกนำไปใช้ในบริษัททุกขนาดและอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการผลักดันความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ และผลลัพธ์

หัวใจหลักของ OKR ประกอบด้วยสองส่วน: วัตถุประสงค์ (Objective) และผลลัพธ์หลัก(Key Result) วัตถุประสงค์คือข้อความที่ชัดเจนและกระชับบอกถึงสิ่งที่คุณต้องการทำให้สำเร็จ ในขณะที่ ผลลัพธ์หลักคือชุดเมตริกที่สามารถวัดปริมาณได้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของงานที่คุณกำลังดำเนินการเพื่อไปสู่เป้าหมายของคุณ โครงสร้างนี้ช่วยให้องค์กรสร้างความเข้าใจร่วมกันกับพนักงานว่าความสำเร็จมีหน้าตาเป็นอย่างไร และช่วยทำให้เห็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่ชัดเจนเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น

OKRs ยังมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้องค์กรสามารถกำหนดเป้าหมายในระดับต่าง ๆ ได้ ตั้งแต่ระดับบุคคล ไประดับทีม และไปจนถึงระดับทั้งบริษัท ความยืดหยุ่นนี้ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าความสำเร็จมีลักษณะอย่างไร ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งความต้องการและมุมมองที่เฉพาะเจาะของแต่ละทีมหรือแต่ละคน

ขั้นตอนในการตั้ง OKRs แบบละเอียดสำหรับบริษัทให้บริการด้านซอฟต์แวร์ (SaaS: Software as a Service)

  1. กำหนดพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัท: ขั้นตอนแรกในการจัดทำ OKRs คือการกำหนดพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัทให้ชัดเจน สิ่งนี้ทำให้ทราบทิศทางที่ชัดเจนสำหรับทั้งองค์กร และจะช่วยเป็นแนวทางในการพัฒนา OKRs
  2. ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการ: ขั้นตอนต่อไปคือการให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการตั้ง OKRs ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการประชุม เวิร์กช็อป หรือการสำรวจ และช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกคนมีความเห็นตรงกันและมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
  3. ระบุวัตถุประสงค์ระดับบริษัท: ต่อจากนั้น ระบุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายระดับบริษัทที่จะผลักดันการเติบโตและความสำเร็จของบริษัท วัตถุประสงค์เหล่านี้ควรสอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัท และควรมุ่งเน้นไปที่ส่วนที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ
  4. พัฒนา OKRs ของแผนกและรายบุคคล: เมื่อตั้งวัตถุประสงค์ระดับบริษัทแล้ว ก็ดำเนินการตั้ง OKRs ของแผนกและรายบุคคล ซึ่ง OKRs ควรเฉพาะเจาะจง วัดผลได้ มีความเกี่ยวข้องกัน และมีขอบเขตระยะเวลาที่ชัดเจน (SMART) และควรสอดคล้องกับเป้าหมายโดยรวมของบริษัท
  5. ทบทวนและปรับ OKRs เป็นประจำ: เมื่อตั้ง OKRs เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอตามความจำเป็น สิ่งนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกคนมีความก้าวหน้าในงานที่นำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ และเป้าหมายยังคงมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัท
  6. ให้ Feedback และการยอมรับชื่นชม (Recognition) อย่างสม่ำเสมอ: Feedback และการยอมรับชื่นชมกันอย่างสม่ำเสมอเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการนำ OKR ไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ ด้วยการให้ Feedback และการยอมรับชื่นชมกันอย่างสม่ำเสมอแก่พนักงาน องค์กรสามารถมั่นใจได้ว่าทุกคนมีแรงจูงใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้
  7. ใช้เทคโนโลยีเพื่อติดตามความก้าวหน้า: ขั้นตอนสุดท้าย จะใช้เทคโนโลยีเพื่อติดตามความก้าวหน้าการทำงานของ OKRs ที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้แพลตฟอร์มการจัดการโครงการ (Trello, Asana หรือ Monday.com) หรือซอฟต์แวร์ Engagement & Recognition (Happily.ai) และช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกคนมีความก้าวหน้าในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและได้รับการยอมรับชื่นชม

สร้างความสอดประสานกันในองค์กร (Company Alignment) ด้วยความสำเร็จของ OKR

เรียนรู้เพิ่มเติม

ตัวอย่างวัตถุประสงค์ระดับบริษัท

วัตถุประสงค์ระดับบริษัทสำหรับบริษัท SaaS ที่มุ่งเน้นไปที่การเติบโต การรักษาลูกค้า และความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์ อาจมีลักษณะดังนี้

  1. การเติบโต (Growth): เพิ่มจำนวนลูกค้าที่จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ 50% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
  2. การรักษาลูกค้า (Customer Retention): ลดอัตราลูกค้าที่จะเลิกใช้และซื้อสิ้นค้าหรือบริการลง 30% ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
  3. ความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์ (Product Excellence): เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าโดยรวม 25% ในอีก 9 เดือนข้างหน้า

สิ่งสำคัญสำหรับแต่ละวัตถุประสงค์เหล่านี้คือต้องกำหนดผลลัพธ์หลักที่วัดความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์ได้ โดยผลลัพธ์หลักเหล่านี้ควรวัดได้และมีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงที่สามารถติดตามผลได้เมื่อเวลาผ่านไป ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ในการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่ชำระเงินในการซื้อสินค้าหรือบริการ อาจจะมีผลลัพธ์หลักที่สอดคล้องกัน ก็คือการเพิ่มจำนวนผู้ใช้ทดลองงานฟรีที่เปลี่ยนเป็นลูกค้าที่ชำระเงิน 40% ในอีก 6 เดือนข้างหน้า

การกำหนด OKRs ที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระดับบริษัทและได้รับการสนับสนุนจากผลลัพธ์หลักสามารถช่วยให้แน่ใจได้ว่า ทุกทีมกำลังทำงานเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน และสามารถติดตามและรายงานความคืบหน้างานได้อย่างถูกต้อง

ตัวอย่าง OKR ของแผนกขาย

วัตถุประสงค์: ขับเคลื่อนการเติบโตด้วยการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่ชำระเงิน

  • ผลลัพธ์หลัก 1: เพิ่มจำนวนคนที่มีแนวโน้มจะมาเป็นลูกค้าที่มีคุณภาพ (Qualified Lead)  50% ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
  • ผลลัพธ์หลัก 2: เพิ่มอัตราการเปลี่ยนแปลงของคนที่มีแนวโน้มจะมาเป็นลูกค้าที่มีคุณภาพมาเป็นลูกค้าที่ชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ 40% ใน 9 เดือนข้างหน้า

ตัวอย่าง OKR ของแผนกการตลาด

วัตถุประสงค์: ส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจและการรักษาลูกค้าด้วยการทำให้คนรู้จักและมีส่วนร่วมและอยู่กับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

  • ผลลัพธ์หลัก 1: เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ 40% ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
  • ผลลัพธ์หลัก 2: เพิ่มเวลาเฉลี่ยที่ใช้บนเว็บไซต์ 30% ใน 9 เดือนข้างหน้า
  • ผลลัพธ์หลัก 3: เพิ่มจำนวนผู้ติดตามโซเชียลมีเดีย 50% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า

ตัวอย่าง OKR ของแผนกปรับปรุงผลิตภัณฑ์

วัตถุประสงค์: พัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าและลดการอัตราการเลิกใช้งานของลูกค้าด้วยการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ๆ

  • ผลลัพธ์หลัก 1: ดำเนินการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่กำหนดไว้ให้เสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นไตรมาสที่ 3
  • ผลลัพธ์หลัก 2: 50% ของลูกค้าได้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ภายในไตรมาสที่ 4
  • ผลลัพธ์หลัก 3: เพิ่มคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า 25% ภายใน 6 เดือนหลังจากเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่

ตัวอย่าง OKRs ของแผนกวิศวกรรม

วัตถุประสงค์: ส่งเสริมความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมและความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์

  • ผลลัพธ์หลัก 1: ลดจำนวนข้อผิดพลาด (Bugs) ของผลิตภัณฑ์ลง 40% จากที่ได้รับแจ้งมา ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
  • ผลลัพธ์หลัก 2: เพิ่มเวลาในการใช้งานผลิตภัณฑ์โดยไม่มีการหยุดชะงักหรือข้อผิดพลาด (Product Uptime) ขึ้น 50% ใน 9 เดือนข้างหน้า
  • ผลลัพธ์หลัก 3: ลดเวลาเฉลี่ยในการโหลดผลิตภัณฑ์ (แอปพลิเคชั่น) ลง 30% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า

ตัวอย่าง OKRs ของแผนกรักษาและดูแลของลูกค้า

วัตถุประสงค์: พัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าและเพิ่มการรักษาลูกค้า

  1. ผลลัพธ์หลัก 1: เพิ่มคะแนน NPS เฉลี่ย 10 คะแนนภายในไตรมาสถัดไป
  2. ผลลัพธ์หลัก 2: ลดอัตราการยกเลิกการซื้อและใช้สินค้าหรือบริการของลูกค้าลง 15% ภายใน 6 เดือนข้างหน้า
  3. ผลลัพธ์หลัก 3: เพิ่มจำนวนการต่ออายุลูกค้า 20% ภายในปีหน้า

ตัวอย่าง OKRs ของแผนกทรัพยากรบุคคล (HR)

วัตถุประสงค์: ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกและเพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน

  1. ผลลัพธ์หลัก 1: เพิ่มคะแนนความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement) 15% ภายในไตรมาสถัดไป
  2. ผลลัพธ์หลักที่ 2: ลดอัตราการลาออกของพนักงาน (Turnover Rate)ลง 10% ภายในปีหน้า
  3. ผลลัพธ์หลัก 3: เพิ่มจำนวนพนักงานที่แนะนำบริษัทว่าเป็นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยมถึง 25% ภายใน 6 เดือนข้างหน้า

ขับเคลื่อน Performance ของบริษัท

ด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ OKRs ช่วยให้พนักงานเข้าใจบทบาทของตนในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยรวม และยังให้แนวทางที่ชัดเจนในการทำงานอีกด้วย การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และผลลัพธ์จากการทำงานที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจของพนักงานได้ เนื่องจากพนักงานมีแนวโน้มที่จะรู้สึกเป็นเจ้าของงานของตนและมีเป้าหมายในการทำงานมากขึ้น

งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าองค์กรที่ใช้ OKRs มีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายและเห็นการพัฒนาการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพของพนักงาน การศึกษาโดย McKinsey & Co พบว่าองค์กรที่ใช้ OKRs มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในความพยายามผลักดัน Performance และ Engagement ของพนักงาน มากกว่าองค์กรที่ไม่ได้ใช้เฟรมเวิร์กนี้

อย่างไรก็ตาม การนำ OKRs ไปใช้นั้นไม่ง่ายเหมือนการตั้งเป้าหมาย องค์กรจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และตรวจสอบให้แน่ใจว่า OKRs สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เหล่านี้เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพ และสิ่งสำคัญคือต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดเป้าหมาย เนื่องจากสิ่งนี้สามารถช่วยให้มั่นใจได้ว่า OKRs นั้นสอดคล้องกับความต้องการและความสมัครใจของพวกเขา

พลังของการสื่อสารและการให้ Feedback เป็นประจำด้วย OKRs

การประเมินและให้ Feedback อย่างสม่ำเสมอด้วย OKRs มีความสำคัญต่อความสำเร็จของพนักงาน และอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อ Engagement และ Performance ของพนักงาน ด้วยการประเมินความคืบหน้าในงานเทียบกับ OKRs ที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ พนักงานจะมีสมาธิจดจ่อกับเป้าหมายของตนและสามารถปรับแนวทางของตนได้ตามต้องการ ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้พนักงานทุกคนติดตามผลงานของตนเองและมั่นใจได้ว่าทุกคนกำลังก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายขององค์กร

นอกจากนี้ การให้ Feedback อย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับ Performance ของพนักงานยังเป็นโอกาสให้องค์กรได้รู้ถึงอุปสรรคใด ๆ ที่อาจทำให้พนักงานไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งอาจรวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน การส่งเสริมสนับสนุน หรือการเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับส่วนที่เหลือขององค์กร โดยการระบุถึงอุปสรรคและจัดการกับปัญหาเหล่านี้ องค์กรสามารถมั่นใจได้ว่าพนักงานสามารถบรรลุเป้าหมายและทำงานได้เต็มศักยภาพของพวกเขา

Feedback เป็นองค์ประกอบสำคัญของ Engagement ของพนักงาน เมื่อพนักงานรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการรับฟังและองค์กรมองเห็นคุณค่า พวกเขามักจะมีส่วนร่วมและมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้ดีที่สุด การให้และรับ Feedback อย่างสม่ำเสมอผ่าน OKRs ช่วยให้พนักงานมีโอกาสได้รับ Feedback ที่สร้างสรรค์ ตลอดจนการยอมรับและชื่นชมการทำงานหนักและความสำเร็จของพวกเขา สิ่งนี้จะสร้างการให้และรับ Feedback ในเชิงบวกที่ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมและประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น

บทสรุป

การใช้ OKRs เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้นำในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพ การเติบโต และ Productivity ในองค์กรของตน อย่างไรก็ตาม ต้องจำไว้ว่าการมีส่วนร่วมของพนักงานและความปลอดภัยทางจิตใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของ OKRs การตั้งเป้าหมายจะมีผลก็ต่อเมื่อมีการสื่อสารที่เปิดกว้างและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนพนักงานในการทำงาน การให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของพนักงานและความปลอดภัยทางจิตใจช่วยให้มั่นใจได้ว่าทีมของคุณรู้สึกมีค่าและมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในงานของตน ท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายของ OKRs คือการทำให้ทุกคนในองค์กรมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ซึ่งต้องอาศัยความไว้วางใจ ความโปร่งใส และการทำงานร่วมกัน ผู้นำสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยการใช้แนวทางแบบองค์รวมใน OKRs ที่ทำให้ทุกคนรู้สึกมีแรงบันดาลใจในการมีส่วนร่วมเพื่อความสำเร็จของบริษัท

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!