คำยอดฮิต ที่กลายเป็นโจทย์ให้กับ HR ของบริษัทต่างๆว่าจำเป็นต้องทำ แต่หลายธุรกิจ องค์กร นั้นก็มักจะยังไม่เข้าใจว่าการ สร้าง Employee Engagement นั้นทำไปเพื่ออะไร จนไม่มีความใส่ใจมากพอที่จะหาเครื่องมือที่ดีมาใช้จัดการอย่างจริงจัง เพื่อสร้างให้พนักงานนั้นเกิดความรู้สึกมีใจให้กับการทำงาน มีใจให้บริษัทจริงๆ
โดยหลายที่นั้นยังคงประสบปัญหากับการปฏิบัติอย่างไร้ทิศทาง กลายเป็นเอา survey เข้ามาทำโดยไม่รู้ว่าที่ทำนั้นเพื่ออะไร และจะเอาไปใช้ยังไง แค่ได้รับคำสั่งมาว่า ต้องทำนะ เพื่อสร้าง Employee Engagement แต่กลับสร้างความเหนื่อยหน่าย ความไม่พอใจในหมู่พนักงาน แถมไม่ได้ข้อมูลจริงๆ ใช้งานอะไรไม่ได้ พาลทำเอา Employee Engagement ที่ควรจะได้ปรับปรุงจนดีขึ้น ตกต่ำลงไปอย่างไม่รู้ตัว
ดังนั้นวันนี้ Happily.ai ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Employee Engagement ประสบการณ์ยาวนาน จะมาช่วยให้คุณเข้าใจว่า ที่คุณพยายามทำอยู่น่ะ ถ้าทำได้ถูกทางจะสร้างประโยชน์ได้อย่างไร?
Employee Engagement ช่วยให้พนักงานมีใจในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า (Customer Satisfaction) มากขึ้น
จากผลวิจัยของ American Customer Satisfaction Index (ASCI) และ Glassdoor นั้น ได้มีการค้นพบด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ความพึงพอใจของพนักงานในการทำงาน กับ ความพอใจของลูกค้า อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งในบริษัทที่พนักงานนั้นมีความพอใจในการทำงานที่สูง มักจะมีรีวิวจากลูกค้าว่า คุณภาพของสินค้าและบริการ รวมทั้ง มีบริการหลังการขายที่ดีมาก พร้อมแนะนำกลางรีวิวให้คนอื่นได้ลองใช้บ้าง
แต่ถ้าพนักงานไม่พอใจในบริษัท คุณก็อาจจะสามารถเห็นกรณีต่างๆตามที่พบได้บนวิดีโอ Social Media ที่พนักงานทำงานอย่างประชดประชัน แต่ผลเสียนั้นกลับตกกับบริษัทและตัวแบรนด์ จนทำให้หลายคนได้กล่าวว่าจะไม่ใช่บริการตัวแบรนด์อีกแล้ว
ดังนั้น การรู้อารมณ์ของพนักงาน แก้ไข และสร้างให้เกิด Employee Engagement ในองค์กรนั้นจึงสำคัญ ถ้าคุณไม่รู้ใจพนักงาน Engagement ก็จะไม่เกิดเพราะจับจุดการสร้างไม่ถูก พอ Engagement ไม่เกิด พนักงานที่เต็มใจทำงานนั้นก็จะไม่มีตามไปด้วย
ศึกษาว่า Happily.ai ช่วยให้คุณรับทราบอารมณ์และความคิดของพนักงานได้อย่างไร?
Employee Engagement ช่วยสร้างนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กร
การสร้างนวัตกรรมในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ อย่าง กิจกรรมใหม่ๆ เรื่องที่ใหญ่ขึ้นมาอย่างการสร้างออฟฟิสและโรงงานที่น่าอยู่ น่าทำงาน มากขึ้น ไปจนถึงสิ่งที่ส่งผลต่อธุรกิจระดับสร้าง business model ใหม่ได้ จากบริการและสินค้าชนิดใหม่ ทุกสิ่งเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้จากตัวผู้จัดการและฝ่ายบริหาร แต่มักจะออกมาดูไม่ค่อยดีนัก เมื่อเทียบกับการได้ยินเสียงของพนักงานจริงๆ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Employee Engagement ในด้านการมีส่วนร่วมในองค์กร เพราะ องค์กรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ส่งเสียง และพนักงานรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรจนไม่อาจอยู่เฉยได้
ดังนั้น การเปิดรับเสียงของพนักงาน (Employee Feedback) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะพอพนักงานกล้าเปิดมากขึ้นตั้งแต่เรื่องความเห็นส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ พนักงานก็จะเริ่มแสดงความเห็นที่เป็นไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆออกมาผ่านทางช่องทางที่เปิดรับเสียงของพวกเขา นำมาสู่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆที่เรียกว่า กลั่นกรองจากมันสมองของพนักงานจำนวนออกมาแล้ว ที่นอกจากพนักงานจะชอบก็อาจยังสามารถขายต่อโลกภายนอกได้ด้วย
แต่การจะฟังเสียงของพนักงานด้วยวิธีการทำ Survey นั้น จำเป็นต้องมีการออกแบบ และใช้มาตรวัด (Benchmarks) ที่มีมาตรฐาน พร้อมวิธีการวิเคราะห์เพื่อทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plans) อย่างถูกต้อง ไม่มั่วและไร้ทิศทางจนไม่เกิดผลดั่งหวัง โดยคุณสามารถศึกษาสิ่งนี้ได้จากหนังสือของเรา