ปัจจุบันองค์กรต่างพยายามพัฒนา Employee Engagement เพิ่ม Productivity และ Performance โดยรวมขององค์กรด้วยเครื่องมือและวิธีการที่แตกต่างกันไป และหนึ่งในนั้นคือการ Nudge หรือการสะกิดให้เกิดพฤติกรรมที่อยากเห็น บทความนี้ เราจะชวนคุณมาทำความรู้จักกับ Nudge เข้าใจถึงประโยชน์และวิธีการใช้งานของเครื่องมือนี้ ผ่านตัวอย่างที่ช่วยฉายภาพการทำงานของ Nudge ในบริบทขององค์กร

การ Nudge พฤติกรรมคืออะไร ?

การ Nudge คือวิธีการสะกิดให้เกิดหรือไม่เกิดพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งขึ้น โดย Nudge จะถูกออกแบบให้กระตุ้นและส่งเสริมให้คนหรือกลุ่มเป้าหมายเลือกทางเลือกที่ผู้ออกแบบคาดหวังว่าจะนำไปสู่ผลลัพธ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ ทฤษฎี Nudge คือไอเดียที่เชื่อว่า คนเราจะเลือกทางเลือกเชิงบวกเมื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและมีสิ่งจูงใจ

Nudge ทำงานอย่างไร ?

Nudge คือหนึ่งในเครื่องมือที่นำพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) มาใช้กระตุ้นการเลือกของคน การปรับเปลี่ยนผังที่นั่งเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานถือเป็น Nudge รูปแบบหนึ่งที่ทำได้ง่าย ๆ หรือการ Nudge อาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่น กระตุ้นให้พนักงานทำงานบรรลุเป้าหมายด้วยการให้รางวัลตอบแทน เป็นต้น

การนำ Nudge ไปใช้ในองค์กร

องค์กรสามารถนำ Nudge ไปกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติหรือมีพฤติกรรมเชิงบวกและเกิดผลที่ดีขึ้นต่อองค์กรได้โดยที่ไม่ต้องบีบบังคับหรือออกเป็นข้อกำหนดของบริษัท Nudge เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริษัทสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ส่งเสริมนิสัยที่ดี เสริมสร้าง Teamwork และการทำงานร่วมกันได้

ใช้ Nudge ในองค์กรของคุณ เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรได้ด้วย Happily.ai

เรียนรู้เพิ่มเติม

ตัวอย่างของ Nudge ในที่ทำงาน

  1. การ Nudge ผ่านเหตุการณ์ (Situational Nudges): Nudge ประเภทนี้จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพเพื่อสะกิดให้เกิดพฤติกรรมขึ้น ตัวอย่างเช่น วางขนมเพื่อสุขภาพไว้ในระดับสายตาของห้องพักเบรกพนักงานเพื่อให้พวกเขาสังเกตเห็นได้ง่ายกว่า และเลือกหยิบขนมเพื่อสุขภาพแทน
  2. การ Nudge ด้วยตัวเลือกตั้งต้น (Default Nudges): คือให้ Nudge เป็นทางเลือกตั้งต้นเพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวัง เช่น พนักงานทุกคนจะเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อการเกษียนอายุแบบอัตโนมัติ เพื่อให้พนักงานได้มีเงินเก็บออมใช้หลังเกษียนอายุการทำงาน
  3. การ Nudge ผ่านสังคม (Social Nudges): Nudge ชนิดนี้จะให้คนในสังคมกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น เช่น สร้างโปรแกรม Recognition ให้แก่พนักงาน เป็นการให้รางวัลพวกเขาสำหรับความร่วมมือและแชร์ความรู้ให้แก่กัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานเป็นทีม
  4. การ Nudge ด้วย Feedback (Feedback Nudges): การให้ Feedback ก็สามารถสะกิดและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ให้ Feedback กับพนักงานในผลการทำงานของพวกเขาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงอย่างไม่มีสิ้นสุด

แบบอย่างการออกแบบ Nudge ที่ใช้งานได้จริงและประสบความสำเร็จ

การออกแบบ Nudge ต้องพิจารณารายละเอียดหลายองค์ประกอบอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่หลักการและทฤษฎีของ Behavioral Science ต้องทำความเข้าใจบริบทที่อยู่แวดล้อมเป้าหมายที่ต้องการจะเข้าไปกระตุ้นและสะกิดให้เกิดพฤติกรรมนั้น ๆ ขึ้น เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจ Nudge มากขึ้น เราจึงขอยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ต้องการจะสะกิดและกระตุ้นให้หัวหน้างานเข้าไปพูดคุยกับพนักงานแบบตัวต่อตัว

1. ระบุพฤติกรรมที่อยากจะเห็น: นั่นคือกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่อยากเห็นให้ชัดเจน เช่น ทำให้เกิดการพูดคุยและการสื่อสารที่ดีขึ้นในทีม หรือทำให้พนักงานมีพฤติกรรมการกินที่ดีขึ้น เป็นต้น

ตัวอย่าง: เราอยากกระตุ้นให้หัวหน้างานวางกำหนดการและเตรียมตัวสำหรับการประชุมแบบตัวต่อตัว

2. ทำความเข้าใจอุปสรรคขัดขวางพฤติกรรมนั้น ๆ และบริบทที่เกี่ยวข้อง: คุณต้องทำความเข้าใจอุปสรรคเหล่านี้อย่างถ่องแท้เพื่อออกแบบ Nudge ที่ใช้งานได้จริง อุปสรรคหรือสิ่งขัดขวางที่กล่าวถึง อาจจะเป็นวัตถุสิ่งของที่จับต้องได้ หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่างเรื่องเชิงจิตวิทยา สังคม และวัฒนธรรม

ตัวอย่าง: อุปสรรคที่จะทำให้เกิดการประชุมตัวต่อตัว อาจจะรวมถึงเวลาที่ไม่เพียงพอ

3. เลือก Nudge ที่เหมาะสม: การ Nudge มีหลายประเภท เช่น Default Nudges, Social Nudges, Feedback Nudges และอื่น ๆ การเลือกประเภทของการ Nudge ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่คุณต้องการกระตุ้น อุปสรรคที่คุณต้องเอาชนะ และบริบทที่พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้น

ตัวอย่าง: Feedback Nudges สามารถให้การสนับสนุนและการยอมรับในเชิงบวกสำหรับหัวหน้างานที่ริเริ่มการประชุมแบบตัวต่อตัวกับสมาชิกในทีม ตัวอย่างเช่น การส่งอีเมลแสดงความยินดีไปยังผู้จัดการที่ริเริ่มการประชุมแบบตัวต่อตัวกับสมาชิกในทีมได้สำเร็จ เป็นต้น

4. ทำให้เป็นเรื่องง่าย: หลักการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของ Behavioral Science คือการทำให้พฤติกรรมที่ต้องการนั้นทำได้โดยง่าย ซึ่งหมายถึงออกแบบการ Nudge ให้เป้าหมายใช้ความพยายามหรือไม่ต้องคิดประมวลอะไรมากนักเพื่อเลือกทำสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น และผสานรวมเข้ากับกิจวัตรประจำวันของเป้าหมายการ Nudge ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่าง: ทำให้การประชุมแบบตัวต่อตัวกับสมาชิกในทีมเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในปฏิทินของผู้จัดการตั้งแต่ต้น (Default) หรือใช้แพลตฟอร์มการให้และรับฟีดแบ็กที่เริ่มสร้างบทสนทนาระหว่างผู้จัดการและทีมของพวกเขาได้โดยอัตโนมัติ

5. ทดสอบและทำซ้ำ ๆ : ควรทดสอบและปรับเปลี่ยนการ Nudge เป็นระยะเพื่อให้แน่ใจได้ว่าการ Nudge นี้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน สิ่งสำคัญคือต้องวัดผลของการ Nudge และปรับเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพได้ด้วย

ตัวอย่าง: วัดผลกระทบของฟีดแบ็กในด้านความถี่และคุณภาพของการประชุมแบบตัวต่อตัว และทำการปรับเปลี่ยน Nudge ตามความจำเป็นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

ด้วยการทำตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเหล่านี้ คุณสามารถออกแบบการ Nudge ที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และสอดคล้องกับหลักการของ Behavioral Science ไม่ว่าคุณกำลังพยายามกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้จัดการเริ่มการประชุมแบบตัวต่อตัว ปรับปรุงวัฒนธรรมในที่ทำงาน ส่งเสริมนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ หรือแม้กระทั่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร การ Nudge ที่ออกแบบมาอย่างดีสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายของคุณได้

Nudge ผู้จัดการหรือหัวหน้างานให้ทำในสิ่งที่ควรทำเพื่อบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

องค์กรในอุตสาหกรรม FMCG ใช้การ Nudge เพื่อปรับปรุงวัฒนธรรมในที่ทำงานอย่างไร

บริษัท FMCG แห่งหนึ่งในประเทศไทยประสบปัญหาในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกัน แผนกต่าง ๆ มักจะทำงานแบบต่างคนต่างทำ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างทีมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพและพลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากความสามารถที่หลากหลายของพนักงาน

เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทางบริษัทได้ใช้ Social Nudge ในรูปแบบของโปรแกรมการชื่นชม (Recognition Program) ภายในองค์กร โปรแกรมนี้ออกแบบมาเพื่อให้รางวัลแก่พนักงานที่ทำงานร่วมกันและแบ่งปันความรู้ระหว่างทีม บริษัทใช้ซอฟต์แวร์การชื่นชมที่เรียกว่า Happily.ai เพื่อเปิดตัว Recognition Program ในองค์กร องค์กรยังทำให้แน่ใจด้วยว่ามีการแชร์ข้อมูลทั่วทั้งองค์กรและเฉลิมฉลองรางวัลที่ได้รับนี้

เมื่อเวลาผ่านไป Recognition Program ก็ผลิดอกออกผลต่อวัฒนธรรมองค์กร พนักงานเริ่มหาโอกาสที่จะทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานในแผนกอื่น ๆ และผู้จัดการเริ่มตระหนักและให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมข้ามสายงาน ทำให้บริษัทมีผลผลิตและนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจาก Nudge ทางสังคมนี้

สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่เดือนที่บริษัท FMCG ในไทยแห่งนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า Social Nudge สามารถเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการปรับปรุงวัฒนธรรมในที่ทำงานได้อย่างไร ด้วยการสร้างแรงจูงใจและการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก องค์กรสามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมและปรับปรุงผลลัพธ์ได้ Social Nudge อย่างโปรแกรมการชื่นชมนั้นมีประสิทธิภาพ เพราะสิ่งนี้เข้าถึงธรรมชาติทางสังคมของพฤติกรรมมนุษย์ และใช้ประโยชน์จากความต้องการภายในที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของเราในการชื่นชมและการยอมรับทางสังคม

บทสรุป

การกระตุ้นพฤติกรรมด้วยการ Nudge เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงวัฒนธรรมในที่ทำงานและส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก เมื่อเข้าใจหลักการของ Social Science และใช้แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการออกแบบการ Nudge ที่ประสบความสำเร็จแล้ว คุณจะสามารถโน้มน้าวการกระทำและทัศนคติของเพื่อนร่วมงานและพนักงานของคุณ ไม่ว่าคุณจะพยายามส่งเสริมนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม หรือขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร การ Nudge ที่ออกแบบมาอย่างรอบคอบสามารถพลิกสถานการณ์ได้ ทำไมไม่ลองใช้ดูสักหน่อยละ? ใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อออกแบบ Nudge ที่มีประสิทธิภาพของคุณเอง และดูว่าการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ในที่ทำงานได้จริงด้วยตัวคุณเอง

ลองใช้กันเลยมั้ย? อ่านเพิ่มเติมเพื่อเข้าใจว่า Happily.ai ใช้ Nudge สะกิดเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสถานที่ทำงานที่ดี พร้อมทีมงานที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและมีความสุขได้อย่างไรได้

Share this post