“I can’t get no (satisfaction)”
ถ้าคุณมีรสนิยมในการฟังเพลงเก่าๆ อาจจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี เพราะเป็นเพลงดังของวงร็อกระดับโลกนามว่า The Rolling Stones เวลาปกติคุณคงจะสนุกกับมัน
แต่ถ้าคุณได้ยินคำนี้จากลูกน้อง หรือลูกจ้าง คุณคงไม่สนุกแน่เพราะ คุณอาจจะได้เวลาต้องหาคนใหม่ ต้องเสียเวลาเทรนให้เป็นงาน แต่ถ้าได้ยินแนวเดียวกันเป็นจำนวนมาก คุณเตรียมตัวธุรกิจช็อคได้เลย เพราะอย่างที่เคยกล่าวไปใน The Great Resignation แล้วถึงผลกระทบอันร้ายแรงของมัน
เพื่อป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือถ้าคุณกำลังเผชิญหน้ากับสิ่งที่กล่าวถึงไปแล้ว ก็ขอให้คุณใส่ใจและเรียนรู้ในด้านการสร้าง Employee Satisfaction หรือ ความพึงพอใจของพนักงาน โดยบทความนี้เราจะพาคุณเจาะถึงรายละเอียดของหัวข้อนี้ เพื่อที่คุณจะได้สามารถนำเอาไปใช้งานจริงได้หลังจากอ่านจบแล้ว
Employee Satisfaction คือ อะไรกันแน่?
ถ้าแปลตรงๆเฉยๆว่า ความพึงพอใจของพนักงาน ก็คงจะเป็นการตอบแบบ กำปั้นทุบดิน ไปเสียหน่อย
โดยสรุปสำหรับคำนี้นั้น ความพึงพอใจในที่นี้ เมื่ออ้างอิงจากบทความของ HRNote ได้เห็นได้ว่า ความพึงพอใจสำหรับพนักงานนั้น คือ ความรู้สึกและทัศนคติที่ดีต่อองค์กร นำมาสู่ขวัญ กำลังใจ และความสุขในการทำงาน
ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆ คุณลองนึกถึงทหารในสนามรบ ถ้าพวกเขาแฮปปี้กับค่าย กับผู้บัญชาการ กับประเทศ พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนทั้งอุปกรณ์ การฝึกฝน และสวัสดิการที่ดี แน่นอนเราย่อมสามารถเห็นการรบอย่างทีประสิทธิภาพได้
แต่ถ้าไม่มีสิ่งข้างต้นแล้ว ทหารก็ย่อมที่จะรบอย่างไรพละกำลัง หนีทัพ ไม่ก็ขนข้อมูลไปแปรพักต์เลยทีเดียว ถึงแม้คุณจะว่าสามารถเกณฑ์หรือรับสมัครใหม่ได้เรื่อยๆ แต่ถ้าทหารเก่าเปลี่ยนฝั่งไปอยู่กับฝ่ายตรงข้ามมากๆ ย่อมหาโอกาสชนะได้ยากแน่นอน
กลับเข้าเรื่องด้านการทำงาน วันนี้เราจะขอนำเสนอองค์ประกอบของ Job Satisfaction ซึ่งเป็นซับเซ็ต ของ Employee Satisfaction ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงกัน ซึ่งองค์ประกอบนั้นมีดังนี้
ความพอใจในค่าตอบแทน (Salary and Compensation)
“We are all in it for money!”
แน่นอน เมื่อคุณเข้ามาทำงานแล้วคุณก็ต้องหวังที่จะได้รับค่าจ้างที่สมกับงานที่คุณทำ แต่ถ้าพนักงานรู้สึกว่าตัวเองได้ค่าจ้างน้อย หรือทำงานมานานค่าจ้างไม่เพิ่มขึ้นเลย ก็มีสิทธิ์สูงมากที่เขาจะหาทางย้ายไปทำในที่ๆสามารถให้ค่าจ้างที่สูงกว่า
ซึ่งในจุดนี้นั้นถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารที่สามารถจัดการเรื่องเงินเดือนได้ อย่าลืมตรวจเช็คถึงการแข่งขันในวงการ และเสนอเงินเดือน ค่าตอบแทนที่มากที่สุดเท่าที่คุณจะสามารถจัดการในระบบ รวมไปถึงตามสภาพความเป็นจริงของบริษัทของคุณ
ความพอใจในตัวผู้จัดการ (Relationship with Manager)
ในการทำงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในระดับไหนก็ต้องมีผู้จัดการอยู่เสมอ แม้แต่ตอนที่คุณเป็น CEO คุณก็ยังต้องอยู่ใต้การชี้นำของบอร์ดบริหาร หรือกระทั่งบอร์ดบริหารก็จำเป็นต้องรับฟังผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดการและลูกน้อง จึงเป็นอะไรที่สำคัญ
ถ้าลูกน้องรู้สึกวางใจ ให้ความเคารพนับถือ พวกเขาก็จะอยู่ทำงานให้อย่างยาวนาน
แต่ถ้าไม่ พวกเขาก็พร้อมที่จะไปได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่ได้มีภาระหรือสภาวะที่ไม่อาจเปลี่ยนงานได้มารัดคอของพวกเขา
ทางเราขอแนะนำให้คุณได้ศึกษาเพิ่มเติมจากบทความของเรา ว่าระบบ Feedback ที่ดีจะสามารถช่วยปรับปรุงด้านความสัมพันธ์ระหว่างลูกน้องกับหัวหน้าได้อย่างไร
ความพอใจในเพื่อนร่วมงาน (Relationship with Co-Workers)
ทุกการทำงานในระดับลูกจ้างนั้น ย่อมต้องมีเพื่อนร่วมงานไม่มากก็น้อย ซึ่งอาจจะเป็นทีมเดียวกันหรือคนละทีมกันก็ได้ ซึ่งถ้าความสัมพันธ์ดี งานก็จะคล่อง และพวกเขาก็จะสนุกกับงาน
หาไม่แล้ว งานจะออกมาเละ ซ้ำยังทำให้สมาชิกทีมลาออกไปทีละคนเหมือนวงแตก โดยส่วนมากถ้าไม่เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของสมาชิกทีม ก็มักจะเกิดจากการมีการสื่อสารหากันที่แย่ ดังนั้น การปรับปรุงนี้ส่วนนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในระดับภาคย่อย อย่างการทำงานภายในทีม หรือในภาครวม คือการทำงานของพนักงานต่อองค์กร เพราะ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและเพื่อนร่วมงาน สามารถนำมาสู่ความผูกพัน และความมุ่งมั่นที่มากกว่าของพนักงานที่มีต่อองค์กร อันเป็นจุดเริ่มต้นของผลงานที่ดีกว่า และความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในที่สุด
ความพอใจในสภาพแวดล้อมการทำงาน (Workplace)
สภาพแวดล้อมนี้อาจรวมได้ถึงทั้ง สภาพเชิงกายภาพ เช่น ออฟฟิสดูเป็นมิตร ปลอดโปร่ง มีการระบายอากาศที่ดี พร้อมน้ำ ขนม และ facility ต่างๆที่ดีเป็นต้น
รวมไปทั้งสภาพแวดล้อมเชิงวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมที่ส่งเสริมด้านการให้กำลังใจ การสร้างความเติบโต วัฒนธรรมที่เน้นการทำงานแบบมืออาชีพ เป็นต้น
อย่างแรกนั้นสำคัญ แต่อย่างหลังนั้นมักจะเป็นตัวดึงพนักงานไว้ได้ดีกว่า เหมือนดั่งสำนวน “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” วัฒนธรรมที่ทั้งแย่ บั่นทอน Toxic ก็คงจะไม่อยากทำงานอยู่นานให้เสื่อมสุขภาพจิตจริงไหม?
อีกทั้งอย่างแรกนั้น ถ้าบริษัทมีงบประมาณก็สามารถปรับปรุงได้โดยง่าย แต่อย่างหลังนั้นอาจเป็นอะไรที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งคุณอาจจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านการจัดการเชิงวัฒนธรรมการทำงานเข้ามาช่วยเหลือคุณ ทั้งในแนวทางการปรับปรุง และการนำเอาเทคโนโลยียุคใหม่ มาทำ Cultural Transformation ในองค์กรคุณ เพื่อสร้างสถานที่ ที่ใครๆก็อยากจะทำงานให้นานๆ
ให้ Happily.ai เข้ามาช่วยคุณทำการ Transformation อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงขอคำปรึกษาจากเราด้วยการกรอกข้อมูลด้านล่าง: