Cognitive Dissonance และ Burnout: ทำความเข้าใจและเรียนรู้แนวทางแก้ไข เพื่อสร้างที่ทำงานที่ Productive

ภาวะ Cognitive Dissonance ในที่ทำงานจะนำไปสู่ความเครียดสะสม และความอึดอัดคับข้องใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Burnout บทความนี้จะช่วยให้เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่าง 2 ภาวะนี้ เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะหมดไฟในการทำงาน
Cognitive Dissonance และ Burnout: ทำความเข้าใจและเรียนรู้แนวทางแก้ไข เพื่อสร้างที่ทำงานที่ Productive
Photo by Jackson Simmer / Unsplash

ในฐานะผู้นำองค์กร คุณเข้าใจดีกว่าใคร ๆ ว่าพนักงานที่กระตือรือร้นและเต็มที่กับงานสำคัญต่อธุรกิจมากเพียงใด แต่ในโลกการทำงานสมัยนี้ที่เรียกร้องและมีความต้องการต่อพนักงานเพิ่มมากขึ้นนั้น ทำให้พนักงานประสบกับภาวะ Cognitive Dissonance และเกิดอาการหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout สูงขึ้นอย่างชัดเจน เป็นสาเหตุให้ Productivity ของพวกเขาลดลง ขาดงานเป็นประจำ (Absenteeism) และมีอัตราการลาออกสูงขึ้น (Turnover Rate) ซึ่งสร้างผลเสียต่อองค์กรเป็นอย่างมาก

เพื่อทำความเข้าใจความเกี่ยวข้องของภาวะทางใจทั้ง 2 อย่างข้างต้นและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา คุณต้องสร้างองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลและทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ บทความนี้จะช่วยให้คุณรู้จักและเข้าใจภาวะ Cognitive Dissonance กับ Burnout พร้อมทั้งยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดในบริบทที่ทำงานเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น รวมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่สามารถนำไปปรับใช้ได้

Cognitive Dissonance คืออะไร ?

Cognitive Dissonance คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเราเผชิญกับความขัดแย้งกันระหว่างความเชื่อ ความคิด หรือค่านิยมตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องกับความเชื่อของเรา ก็จะทำให้เรารู้สึกเครียด สับสน และอึดอัดคับข้องใจ ตัวอย่างเช่น แซมเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน แต่เขาต้องนั่งเครื่องบินเพื่อเดินทางไปยังต่างประเทศ แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า เครื่องบินสร้างมลพิษมากกว่าตัวเลือกอื่น ๆ หลายเท่าตัวก็ตาม เหตุการณ์นี้จึงทำให้แซมประสบกับภาวะ Cognitive Dissonance เพราะความเชื่อและการกระทำของเขาไม่ไปในแนวทางเดียวกัน

Burnout คืออะไร ?

Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงาน คือภาวะที่ร่างกาย อารมณ์และจิตใจอ่อนล้าจากความวิตกกังวลและความกดดันที่เผชิญอย่างต่อเนื่องจนสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ภาวะเช่นนี้พบได้บ่อยในที่ทำงานที่มีความกดดันสูง และนำไปสู่ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ปลีกตัวออกจากคนในที่ทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลง อาการ Burnout เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นภาระงานที่มากเกินไป ไม่ได้รับการช่วยเหลือ และขาดอำนาจในการตัดสินใจ หากปล่อยทิ้งไว้นานและไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะสร้างความเสียหายต่อสุขภาพกายใจ Well-being และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

ตัวอย่างของ Cognitive Dissonance ในที่ทำงาน

ที่ทำงานก็เป็นสถานที่ที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ได้ และแสดงออกมาให้เห็นในหลายรูปแบบและนำไปสู่ Burnout ได้ในที่สุด ดังเช่น

  • ค่านิยมที่ขัดแย้งกัน: พนักงานที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน (Work-Life Balance) เมื่อต้องทำงานนอกเวลาการทำงานนานหลายชั่วโมงเป็นประจำ จะเกิดความขัดแย้งระหว่างค่านิยมและการกระทำของเขาขึ้น ซึ่งทำให้เขารู้สึกผิดหวัง ท้อแท้และหมดไฟทำงานไปในที่สุด
  • ปัญหาทางจริยธรรม: พนักงานที่ต้องทนทำงานเพื่อเงินเดือนและสวัสดิการจากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างไร้จริยธรรม จะเกิดความรู้สึกขัดแย้ง คับข้องใจและเกิด Burnout ในท้ายสุด
  • ความไม่ชัดเจนของตำแหน่งและหน้าที่การงาน: หากพนักงานต้องทำงานที่นอกเหนือจากขอบเขตงานที่ตกลงไว้กับองค์กร นานวันเข้าเขาก็จะรู้สึกเครียดสะสมและ Burnout ได้
  • เป้าหมายที่ขัดแย้งกัน: พนักงานอาจจะเผชิญกับเป้าหมายที่ขัดแย้งกันเอง เช่น ต้องเพิ่ม Productivity ในขณะที่ก็ต้องให้ความสำคัญกับ Well-being ของพนักงานไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียดและ Burnout จากความขัดแย้งนี้ได้

มีส่วนทำให้พฤติกรรม Toxic ขยายตัว

ภาวะ Cognitive Dissonance เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดคน Toxic ในที่ทำงานได้เช่นกัน เมื่อความเชื่อและการกระทำของคนเราสวนทางกัน เราอาจะเลือกวิธีการรับมือที่ไม่โอเค หรือกระทั่ง Toxic เพื่อลดความรู้สึกคับข้องใจที่ตนกำลังเผชิญอยู่ เช่น

  • กล่าวโทษผู้อื่น: เราอาจจะเลือกกล่าวโทษเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานที่ทำให้เราต้องรู้สึกไม่สบายใจและท้อแท้ มากกว่าที่จะรับผิดชอบและแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ขัดกับความเชื่อของเราเอง
  • ซุบซิบนินทา: การซุบซิบนินทาและแพร่ข่าวลือที่เกี่ยวกับผู้อื่น อาจเป็นทางเลือกที่พนักงานใช้เพื่อลดความรู้สึกตึงเครียดของตนเอง
  • หลีกเลี่ยง: พนักงานอาจจะเลี่ยงสถานการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในใจ แทนที่จะเผชิญหน้าและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • เกรี้ยวกราด: การสาดอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดใส่คนรอบข้างก็อาจจะเป็นอีกวิธีที่เลือกใช้ เพื่อลดความรู้สึกอึดอัดใจที่เราต้องเจอ

ความ Toxic เหล่านี้ส่งผลเสียต่อบรรยากาศในที่ทำงานและ Well-being ของพนักงานอย่างมาก ทำให้ขวัญกำลังใจในการทำงานลดลง เกิดความเครียดสะสม และประสิทธิภาพการทำงานก็ลดตามไปด้วย หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะขยายและแพร่กระจายกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ Toxic ซึ่งทำให้พนักงานไม่มีความสุขและองค์กรก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จได้

ข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้จัดการ ซึ่งช่วยให้เข้าใจ Well-being ของทีมและระบุพฤติกรรม Toxic ได้ทันท่วงที

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

คำแนะนำและวิธีการแก้ไขภาวะ Cognitive Dissonance และป้องกันการ Burnout

  1. แจกแจงค่านิยมและความเชื่อให้ชัดเจน: ใช้เวลาทบทวนค่านิยมและความเชื่อของตนเองและขององค์กร เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าความคิดและการกระทำของเราขัดแย้งกันตรงไหน เพราะอะไร เพื่อที่จะได้เข้าไปจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. ทบทวนความเชื่อและทัศนคติ: พิจารณาว่าความเชื่อและทัศนคติถูกต้องและสัมพันธ์กันกับค่านิยมองค์กรหรือไม่ หากไม่ ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องไปกับค่านิยมองค์กร
  3. ค้นหาข้อมูล: รวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น และลดความคลุมเครือซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่สอดคล้องและขัดแย้งกัน
  4. ปรับพฤติกรรม: การปรับพฤติกรรมหรือการกระทำในที่ทำงานหรือในชีวิตส่วนตัวให้สอดคล้องกับค่านิยมและความเชื่อของตน จะช่วยให้ลดสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในใจ
  5. ขอความช่วยเหลือ: พูดคุยถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น รวมทั้งความคิดและความรู้สึกกับคนที่ไว้ใจเชื่อใจ เช่น ครอบครัว เพื่อน และนักจิตบำบัด เป็นต้น
  6. ฝึกดูแลใจตัวเอง (Self-care): การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองช่วยลดความเครียดและเพิ่มความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ดีขึ้น
วัดระดับ Well-being ในองค์กร เพื่อทำความเข้าใจและช่วยสร้างที่ทำงานที่มีความสุข

กล่าวโดยสรุปคือ ภาวะ Cognitive Dissonance และ Burnout เป็นปัญหาร้ายแรงที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับพนักงานและองค์กร ในฐานะผู้นำองค์กร คุณมีพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตของพนักงานได้ สมมติว่า พิม พนักงานคนหนึ่งในองค์กร เธอมีความสนใจในนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก สนุกไปกับการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาและเครื่องมือใหม่ ๆ อยู่เสมอ แต่สภาพแวดล้อมในองค์กรไม่สนับสนุนให้พิมได้ลองผิดลองถูก และการล้มเหลวก็เป็นเรื่องที่องค์กรยอมรับไม่ได้ การทำงานที่องค์กรของคุณทำให้พิมรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ เกิดความเครียดสะสม ท้อแท้และผิดหวัง หรือก็คืออาการของภาวะ Cognitive Dissonance

คุณสามารถช่วยเหลือพิมให้ใช้ศักยภาพของเธอเองได้เต็มที่ โดยการสร้างที่ทำงานที่ยอมให้พนักงานได้ทดลอง ล้มเหลว และส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแห่งนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เช่นนี้แล้ว ไม่เพียงแต่พิมจะทำงานได้อย่างสนุกและเต็มประสิทธิภาพแล้ว องค์กรก็จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างยั่งยืน

อย่ารีรอ คุณต้องให้ความสำคัญและลงมือแก้ไขปัญหาภาวะ Cognitive Dissonance และ Burnout ในองค์กรตั้งแต่ตอนนี้ การลงทุนใน Well-being และความพึงพอใจของพนักงาน การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวกและ Productive สำหรับทุกคน จะเป็นประโยชน์ต่อพนักงาน ต่อธุรกิจของคุณ รวมถึงสังคมโดยรวมอย่างประเมินค่าไม่ได้

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!