ตัวชี้วัดหลักสำหรับ CEO ในการบริหารสุขภาพองค์กรในปี 2022

รูปแบบการทำงานของเราได้เปลี่ยนไป เรายังคงทดลองวิธีการทำงานใหม่ๆ ผู้นำธุรกิจต้องเป็นผู้ริเริ่มในการวัดผลและจัดการสุขภาพองค์กร
ตัวชี้วัดหลักสำหรับ CEO ในการบริหารสุขภาพองค์กรในปี 2022

หากมีสิ่งหนึ่งที่เราทุกคนต่างเห็นตรงกัน นั่นคือรูปแบบการทำงานของเราได้เปลี่ยนไป เรายังคงทดลองวิธีการทำงานใหม่ๆ เราจะทำงานจากระยะไกลแบบเต็มตัวเลยไหม? การทำงานแบบผสมผสานหรือแบบไฮบริดรูปแบบไหนดีที่สุด? และเราจะทราบได้อย่างไรว่าการทำงานแบบไหนได้ผลและไม่ได้ผล?

ธุรกิจทุกขนาดพยายามดิ้นรนในการสร้างนวัตกรรม, สร้างแหล่งรายได้ใหม่, และมุ่งเน้นไปที่การอยู่รอดและการเติบโตไปพร้อมๆ กัน ความสามารถ ทรัพยากร และกระบวนการเดิมที่มีอยู่ล้มเหลวในการเสริมสร้างพันธกิจใหม่ๆ ผู้คนต่างต้องทำงานร่วมกันเพื่อที่จะสร้างสรรค์, คิดค้น, และแก้ปัญหา

คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพนักงานของคุณและความสามารถและความเต็มใจของพวกเขาในการสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร? พวกเขากำลังรับมือกับความเสี่ยงและความท้าทายที่เกิดขึ้นกับพวกเขาอย่างไร? พวกเขาได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมแล้วหรือไม่?

การวัดผลที่เรามีนั้นล้าสมัย สิ่งที่เคยเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจ (เช่น งบกำไรขาดทุน, KPI และคะแนน engagement ประจำปีของพนักงาน) ไม่เพียงพอและไม่มีประสิทธิภาพ ที่ Happily.ai เราวัดผลแทบทุกอย่างและศึกษาสิ่งที่ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อพนักงานและผลการดำเนินธุรกิจ นี่คือสิ่งที่เราพบว่าเป็นตัวชี้วัดหลักในการจัดการ ’สุขภาพองค์กร’ ซึ่งหมายถึงสภาพขององค์และความพร้อมในการคงอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

1. eNPS หรือ ดัชนีชี้วัดความภักดีของพนักงาน

คุณควรวัดระดับ eNPS ในทุกๆ ไตรมาสโดยถามคำถามต่อไปนี้:

ในระดับ 0 ถึง 10 คุณมีแนวโน้มที่จะแนะนำที่ทำงานของคุณให้กับผู้อื่นมากน้อยเพียงใด?

eNPS ดัดแปลงมาจากตัวชี้วัด NPS® สำหรับพนักงาน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการวัดระดับความพึงพอใจของพนักงาน ผู้สนับสนุน (ผู้ที่ตอบ 9 หรือ 10) เป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดผู้มีความสามารถเข้ามาสู่องค์กรของคุณ ผู้ที่ไม่พอใจ (ผู้ที่ตอบ 0 ถึง 6) เป็นภัยคุกคามต่อ engagement ประสิทธิภาพในการทำงาน และความสามารถของคุณในการรักษาและดึงดูดผู้มีความสามารถเข้ามาสู่องค์กรของคุณ

เราขอแนะนำให้ใช้คำถามติดตามสำหรับผู้ที่ตอบ 6 หรือต่ำกว่าดังนี้:

อะไรคือเหตุผลอันดับหนึ่งที่คุณไม่ต้องการแนะนำบริษัทของเราให้กับผู้อื่น?

คุณอาจไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเพื่อตอบสนองผู้ที่ไม่พอใจได้ แต่คุณอาจพบเจอปัญหาที่ผู้ที่ไม่พอใจมีคล้ายๆ กัน ซึ่งคุณสามารถแก้ไขได้ นอกจากนี้ การฟังเสียงของพวกเขา การจัดการความคาดหวัง และการขจัดความเข้าใจผิดสามารถนำไปสู่การประสบความสำเร็จในอนาคตได้

CEO ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งรู้สึกประหลาดใจที่พบว่ามีผู้ที่ไม่พอใจหลายคนอยู่ในกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจ eNPS ของบริษัทเขา คำถามติดตามผลช่วยให้เขาเรียนรู้ว่าหลายๆ คนที่ไม่มีแนวโน้มที่จะแนะนำที่ทำงานของเขาให้กับผู้อื่นตอบว่าพวกเขาต้องการแยกแยะเพื่อนออกจากที่ทำงาน ซึ่งมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสภาพแวดล้อมในการทำงานของโรงพยาบาลเลย

2. NPS® หรือ ดัชนีชี้วัดความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าต่อองค์กร

คุณควรวัดระดับ NPS ภายในองค์กรในทุกๆ ไตรมาสโดยถามคำถามต่อไปนี้:

ในระดับ 0 ถึง 10 คุณมีแนวโน้มที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์และการบริการของบริษัทให้กับผู้อื่นมากน้อยเพียงใด?

NPS เป็นตัวชี้วัดหลักในการศึกษาความพึงพอใจของลูกค้า และยังสามารถเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการทำความเข้าใจทัศนคติของพนักงานได้อีกด้วย พนักงานของคุณควรเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์และการบริการของคุณ แต่พวกเขาเป็นไปตามนั้นหรือไม่?

บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีแห่งหนึ่งพบว่าทีมพนักงานที่ติดต่อกับลูกค้า (ฝ่ายการขายและการบริการลูกค้า) มี NPS ที่ต่ำมาก คำถามที่พนักงานได้รับในแต่ละวันและฟีดแบ็กจากผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้ารวมทั้งกลุ่มลูกค้าในปัจจุบันทำให้ความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของบริษัทลดลง การติดต่อเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานอยู่เสมอ — คุณจะขายผลิตภัณฑ์ที่คุณไม่มีความเชื่อมั่นได้อย่างไร? ผู้นำของบริษัทนี้ได้สร้างความมั่นใจให้กับกับพนักงานขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วด้วยการจัดการความคาดหวัง ปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับบุคลิกลักษณะของผู้ซื้อให้มากขึ้น และดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจากฟีดแบ็ก ซึ่งนำไปสู่การพลิกผันทางด้านประสิทธิภาพการทำงานที่ดี

3. Well-being หรือ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

คุณควรวัดระดับ well-being ภายในองค์กรในทุกๆ ไตรมาสโดยถาม 5 คำถามต่อไปนี้:

ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา:

  1. ฉันรู้สึกเบิกบานและอารมณ์ดี
  2. ฉันรู้สึกสงบและผ่อนคลาย
  3. ฉันรู้สึกกระฉับกระเฉงและมีพลัง
  4. ฉันตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกสดชื่น และได้พักเพียงพอ
  5. ชีวิตประจําวันของฉันเต็มไปด้วย สิ่งที่น่าสนใจ

ตัวเลือก: เห็นด้วยอย่างยิ่ง (5), เห็นด้วย (4), ค่อนข้างเห็นด้วย (3), ค่อนข้างไม่เห็นด้วย (2), ไม่เห็นด้วย (1), ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (0)

มันไร้ประโยชน์ที่จะคาดหวังการมี engagement, การเพิ่มผลผลิต, การแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ, หรือการริเริ่มอะไรใหม่ๆ จากพนักงานที่มี well-being ในระดับที่ต่ำ การมี well-being ในระดับต่ำส่งผลต่อการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ, ระดับพลังงาน, และความสามารถในการเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ถ้าหากสถานที่ทำงานและวัฒนธรรมของคุณมีส่วนทำให้เกิด well-being ในระดับที่ต่ำ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ควรเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของคุณ

และสำหรับพนักงานแต่ละคนอาจต้องใช้วิธีการส่งเสริม well-being ที่แตกต่างกันออกไป

4. Culture หรือ วัฒนธรรมองค์กร

คุณควรวัดระดับความแข็งแรงของวัฒนธรรมองค์กรในทุกๆ ครึ่งปีโดยถาม 5 ถามคำถามต่อไปนี้:

  1. ฉันเข้าใจว่าวัฒนธรรมของบริษัทสนับสนุนความสำเร็จในระยะยาวของเราอย่างไร และมันสมเหตุสมผล
  2. ค่านิยมของบริษัทของเราเป็นแนวทางในการตัดสินใจและการดำเนินการปฎิบัติในที่ทำงาน
  3. เราปฎิบัติอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาค่านิยมหลักของเราไว้
  4. ฉันมีความสามารถและโอกาสในการปฏิบัติตามค่านิยมหลักของเรา
  5. การดำเนินการปฎิบัติของผู้นำและผู้จัดการของเราสอดคล้องกับค่านิยมของบริษัทของเรา

ตัวเลือก: เห็นด้วยอย่างยิ่ง (5), เห็นด้วย (4), ค่อนข้างเห็นด้วย (3), ค่อนข้างไม่เห็นด้วย (2), ไม่เห็นด้วย (1), ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (0)

"วัฒนธรรมกินกลยุทธ์เป็นอาหารเช้า" —Peter Drucker

วัฒนธรรมที่แข็งแรงเป็นแรงผลักดันที่ทรงพลังที่สุดของคุณในการปรับปรุงและส่งเสริม well-being และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน การมีเพียงพันธกิจและชุดค่านิยมหลักนั้นไม่เพียงพอ ผู้นำบริษัทต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า:

  1. พนักงานเข้าใจว่าค่านิยมหลักของบริษัทมีส่วนสนับสนุนความสำเร็จของบริษัทได้อย่างไร
  2. พนักงานมีแบบอย่าง (ผู้นำและผู้จัดการ) ในการประพฤติตามค่านิยมหลักของบริษัท
  3. พนักงานมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการกระทำที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักของบริษัท
  4. พนักงานมีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติตามค่านิยมของบริษัท

สนับสนุนผู้นำวัฒนธรรมเชิงบวกในองค์กรของคุณ และแสวงหาและกำจัดผู้ที่ไม่พอใจที่เป็นพิษต่อองค์กร และอาจทำให้ความพยายามในการเป็นผู้นำในเชิงบวกของคุณหยุดชะงักลงได้

5. Employee sentiment หรือ ความรู้สึกของพนักงาน

คุณควรวัดระดับความรู้สึกของพนักงานอย่างน้อยในทุกๆ เดือน (หรือในทุกๆ วันด้วย Happily.ai) โดยถามคำถามต่อไปนี้:

วันนี้คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง?

คำถามง่ายๆ นี้เป็นคำถามที่ทรงพลังเมื่อถูกถามเป็นประจำ คุณต้องมองหาความเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกของพนักงานแต่ละคน, ทีมงาน, และองค์กร และเรียนรู้ในเชิงรุกเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น คุณกำลังสร้างความเห็นอกเห็นใจในองค์กรของคุณอย่างเป็นระบบ

ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับงานหรือไม่ก็ตาม ความรู้สึกเป็นตัวทำนายประสิทธิภาพในการทำงานในแต่ละวันที่มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องยากที่เราจะทำผลงานออกมาให้ดีที่สุดเมื่อรู้สึกไม่ค่อยสบาย พนักงานที่ระบุว่าพวกเขารู้สึกไม่สบายเป็นเวลาหลายวันกำลังส่งสัญญาณว่าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพิ่มเติม หากปราศจากเครื่องมือในการแก้ไขนี้ พวกเขามีความเสี่ยงที่จะลาออกจากองค์กร ที่ Happily.ai เราคาดการณ์การลาออกของพนักงานได้แม่นยำมากกว่า 93% โดยการวิเคราะห์ตัวชี้วัดความรู้สึกของพนักงานเพียงอย่างเดียว

สิ่งที่คุณสามารถทำได้

ผู้นำธุรกิจจะต้องเป็นผู้ริเริ่มในการวัดผลและจัดการสุขภาพองค์กร การได้รับข้อมูลเชิงลึกอย่างทันท่วงทีสามารถทำให้ HR มีส่วนร่วมในเชิงกลยุทธ์ ทำให้ผู้จัดการมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น และทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ในขณะเดียวกันคุณกำลังสร้างเครื่องมือผ่านการให้และรับฟีดแบ็กที่ช่วยให้คุณเข้าใจพนักงานของคุณ รวมถึงเข้าใจความสามารถและความเต็มใจของพวกเขาในการมีส่วนร่วมเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ คุณเข้าใจถึงวิธีที่พวกเขาใช้ในการจัดการกับความเสี่ยงและความท้าทาย และยังสามารถรับรู้ด้วยว่าพวกเขาได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่ถูกต้องแล้วหรือไม่

  1. ส่งแบบสำรวจให้พนักงานของคุณด้วยคำถามที่วัดผลทั้งห้าตัวชี้วัดที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น
  2. รวบรวมและแบ่งปันผลของแบบสำรวจกับทั้งบริษัทของคุณ
  3. สื่อสารแผนการและลำดับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องการเห็นที่ได้จากผลของแบบสำรวจ
  4. กำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้และรับผิดชอบเป้าหมายร่วมกัน
  5. ทำงานร่วมกับทีมผู้บริหารของคุณอย่างสม่ำเสมอเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงและติดตามความคืบหน้า

คุณอาจต้องใช้เวลาสักสองสามชั่วโมงในการเริ่มจัดเตรียมการวัดผลเหล่านี้ แต่การวัดผลเหล่านี้สามารถประหยัดเวลาของคุณได้หลายเดือนจากการสูญเสียผลผลิตจากการที่มี engagement ในระดับต่ำ จากการลาออกของพนักงานที่ไม่ต้องการ และจากสิ่งอื่นๆ อีกมากมาย หากคุณสนใจที่จะนำการวัดผลเหล่านี้และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาสู่สถานที่ทำงานของคุณ เราขอเชิญให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเราที่ Happily.ai.

Net Promoter®, NPS®, NPS Prism®, and the NPS-related emoticons are registered trademarks of Bain & Company, Inc., Satmetrix Systems, Inc., and Fred Reichheld. Net Promoter Score℠ and Net Promoter System℠ are service marks of Bain & Company, Inc., Satmetrix Systems, Inc., and Fred Reichheld.

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!