5 คำถามเกี่ยวกับ Well-being ที่ควรมีใน Employee Engagement Survey

ใช้คำถามเหล่านี้ในการวัด Well-Being ของพนักงาน เพื่อให้แน่ใจได้ว่าพนักงานมีความปลอดภัยทางด้านร่างกายและจิตใจ มีสุขภาพที่ดี มีความพึงพอใจ และรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับองค์กร
5 คำถามเกี่ยวกับ Well-being ที่ควรมีใน Employee Engagement Survey
Photo by Priscilla Du Preez / Unsplash

เพราะการทำงานในปัจจุปันนั้นเต็มไปด้วยความต้องการที่จะประสบความสำเร็จและความท้าทายที่มากกว่าเดิม ทำให้เกิดความเครียดและแรงกดดัน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อ Well-being ของพนักงาน ดังนั้นการเอาใจใส่ Well-being ของพนักงานเป็นสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อที่จะส่งเสริม Engagement ของพนักงาน และเมื่อพนักงานมี Well-being ที่ดีและระดับ Engagment ที่สูงขึ้นไปพร้อม ๆ กัน พนักงานเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

Well-being คืออะไร ?

Employee Well-Being หรือความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน มาจากประสบการณ์ที่ดีในการทำงานทางด้านต่าง ๆ ซึ่งสำหรับพนักงานแล้ว จะรวมไปถึงการมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ความพึงพอใจในชีวิตการทำงาน การรู้ความหมายของการมีชีวิตอยู่ และความสามารถในการจัดการกับความเครียด

Well-being มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ Well-being ทางอารมณ์ (Psychological/Emotional Well-being) Well-being ทางกาย (Physical Well-being) และ Well-being ทางสังคม (Social Well-being)

  • Well-being ทางอารมณ์ประกอบไปด้วย ความพึงพอใจ ความเคารพในตนเอง และความสามารถของตนเอง
  • Well-being ทางกายประกอบไปด้วย สุขภาพร่างกาย ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย และการเคลื่อนย้ายเคลื่อนไหว
  • Well-being ทางสังคมประกอบไปด้วย การมีส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ การได้รับการยอมรับ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ทำไม Well-being จึงสำคัญต่อองค์กร ?

Well-Being ที่ดีของพนักงานสามารถนําไปสู่การเพิ่มความยืดหยุ่นและปรับตัวในการทํางาน (Resilience) ช่วยให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น (Engagement) ลดการลาป่วยของพนักงานซึ่งจะช่วยเพิ่มการทำกำไรให้กับองค์กร ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพและ Productivity ในการทํางานเพิ่มมากขึ้น ลดการลาออกของพนักงาน (Turnover) ที่ไม่พึงประสงค์ และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง

ในขณะเดียวกัน การมี Well-being ในระดับต่ำจะส่งผลในแง่ลบมากมายต่อองค์กร เช่น พนักงานใช้เหตุผลในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ระดับพลังงานที่มีในการทำงานลดลง องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และพนักงานจะขาดการเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

คำถามเพื่อวัดระดับ Well-being ของพนักงาน

จุดประสงค์ของการวัดค่า Well-Being ของพนักงานคือเพื่อให้แน่ใจได้ว่าพนักงานมีความปลอดภัยทางด้านร่างกายและจิตใจ มีสุขภาพที่ดี มีความพึงพอใจ และรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับองค์กร

การวัดระดับ Well-being ควรทำภายในองค์กรในทุก ๆ ไตรมาสโดยให้พนักงานบอกถึงระดับความเห็นของตนเองที่เกี่ยวกับ 5 ประโยคเชิงบวกต่อไปนี้:

ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา:

  1. ฉันรู้สึกเบิกบานและอารมณ์ดี
  2. ฉันรู้สึกสงบและผ่อนคลาย
  3. ฉันรู้สึกกระฉับกระเฉงและมีพลัง
  4. ฉันตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกสดชื่น และได้พักเพียงพอ
  5. ชีวิตประจําวันของฉันเต็มไปด้วย สิ่งที่น่าสนใจ

ตัวเลือก: เห็นด้วยอย่างยิ่ง (5), เห็นด้วย (4), ค่อนข้างเห็นด้วย (3), ค่อนข้างไม่เห็นด้วย (2), ไม่เห็นด้วย (1), ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง d(0)

Well-Being Free E-book: วิธีวัดและพัฒนา Well-Being ของพนักงานในองค์กร

ผู้นำส่งเสริม Well-being ให้กับพนักงานได้อย่างไร

ในงานวิจัยก่อนหน้านี้ เราได้ทำการศึกษาว่าวัฒนธรรมและการชื่นชมยอมรับ (Recognition) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและ Well-being ของพนักงานได้อย่างไรบ้าง ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าทั้งวัฒนธรรมองค์กร (Well-being ทางสังคม) และความรู้สึกมีคุณค่าในที่ทำงาน (Well-being ทางอารมณ์) มีส่วนทำให้พนักงานมี Well-being ที่ดี และเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้นำองค์กรจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สนับสนุน Well-being ที่ดีของพนักงาน

ผู้นำส่งเสริม Well-being ของพนักงานด้วยวิธีเหล่านี้

1. เริ่มวัด Well-being ของพนักงาน

หลาย ๆ องค์กรมีแบบสำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) อยู่แล้ว แต่การวัด Well-being ต้องถูกเพิ่มเข้าไปในแบบสำรวจนั้น คุณเพียงแค่ต้องใช้คำถามไม่กี่ข้อในการสำรวจ Well-being เพิ่มเติม แต่สิ่งนี้จะสามารถช่วยผู้นำในการมองเห็นประเด็นปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างทันเวลา

2. จัดการฝึกอบรมให้กับผู้จัดการเกี่ยวกับการสนทนาเรื่อง Well-being

เมื่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-life Balance) ลดน้อยลง ผู้จัดการต้องสามารถมีการสนทนาที่เหมาะสมกับพนักงานและแสดงความใส่ใจเกี่ยวกับชีวิตนอกเหนือการทำงานของพนักงาน เพื่อที่จะจัดการกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ใช้ประโยชน์จากงานทางไกลหรือแบบ Hybrid ที่ได้รับการจัดการอย่างดี

พนักงานที่ไม่เคยทำงานจากทางไกลหรือทำงานจากที่บ้านมาก่อนมักจะรู้สึก Engage กับงานเพราะพวกเขาได้รับความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พนักงานเหล่านี้ก็สามารถประสบกับภาวะหมดไฟ (Burnout) บ่อยขึ้นเช่นกัน ผู้จัดการจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ Well-being ของพนักงาน โดยการส่งเสริมตารางการทำงานที่ส่งเสริม Productivity และการทำงานแบบที่สามารถผสมผสานระหว่างงานกับการใช้ชีวิตเข้าด้วยกันได้อย่างดี

4. พิจารณาผลกระทบที่แตกต่างกันของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่มีผลต่อพนักงานบางคน

ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมและองค์กรที่จ้างพนักงานผู้หญิงจำนวนมากควรเตรียมพร้อมสำหรับภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากพนักงานผู้หญิงต้องพยายามรักษาประสิทธิภาพในการทำงาน ควบคู่ไปกับการดูแลลูกตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน ในกลุ่มพนักงานหน้างานอาจกำลังประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และพนักงานที่มีภูมิหลังทางเชื้อชาติที่ต่างกัน อาจต้องเผชิญกับข้อกังวลด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการเปิดรับความแตกต่าง (DEI) พนักงานต้องการวัฒนธรรมองค์กรที่ยอมรับและเคารพตัวตนที่แท้จริงของพวกเขา คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งเสริม DEI ได้ที่นี่

5. มองหาสัญญาณของภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ที่อาจเกิดขึ้น

การให้ "วันหยุด" กับพนักงานอาจไม่เพียงพอในสถานการณ์ปัจจุบันของเรา เมื่อพนักงานต้องการการสนับสนุนด้านการจัดการและการเชื่อมต่อทางสังคมมากกว่าเดิม ผู้จัดการควรมีส่วนร่วมกับทีมของตัวเอง แต่อย่ากดดันพวกเขาจนเกินไป เพราะในที่สุดผู้นำและผู้จัดการมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานมีความคาดหวังที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร และได้รับปริมาณงานที่สามารถจัดการได้

ที่ Happily.ai เราช่วยองค์กรเสริมสร้าง Well-being ที่ดีโดยการให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการเข้าใจทีมของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เราประเมิน Well-being ของพนักงานโดยใช้ดัชนี WHO-5 และตัวชี้วัด Engagement อื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยการวิเคราะห์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา เราจะแจ้งเตือนผู้นำเมื่อทีมของพวกเขาประสบกับความเครียดในระดับสูง หรือเมื่อสมาชิกในทีมตกอยู่ในความเสี่ยง เริ่มส่งเสริม Well-being ที่ดีให้กับพนักงานของคุณในวันนี้ เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่นี่

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.gallup.com/workplace/336941/wellbeing-engagement-paradox-2020.aspx

[2] https://blog.happily.ai/th/organizational-culture-and-recognition-impacts-employee-well-being-th/

[3] https://blog.happily.ai/th/well-being-tradeoffs-the-unintended-consequences-of-managing-wellbeing-in-the-workplace-th/

[4] https://blog.happily.ai/th/ceo-guide-in-creating-an-organization-that-promotes-dei/

[5] Photo by Priscilla Du Preez on Unsplash

Subscribe to Smiles at Work | The Official Happily.ai Blog newsletter and stay updated.

Don't miss anything. Get all the latest posts delivered straight to your inbox. It's free!
Great! Check your inbox and click the link to confirm your subscription.
Error! Please enter a valid email address!